Skip to main content

แม้ในทางการแพทย์ ภาวะซึมเศร้าเพิ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างเป็นมาตรฐานเมื่อประมาณ 69 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีซึมเศร้ากลับเป็นเรื่องที่พูดกันมาเป็นพันๆ ปีแล้ว หากแต่ บริบททางสังคมและความก้าวหน้าทางการแพทย์ส่งผลให้คำว่า ‘โรคซึมเศร้า’ และ ‘ซึมเศร้า’ มีความแตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย 

ในยุคสมัยนี้โลกให้ความสำคัญกับภาวะซึมเศร้าอย่างมากและจัดว่าเป็นวิกฤตทางสุขภาพจิตที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ยิ่งมีคนป่วยเยอะ อัตราการฆ่าตัวตายยิ่งเพิ่มสูงขึ้น การฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นเรื่องของคนๆ เดียวแต่เป็นปัญหาที่กระทบต่อกันเป็นโดมิโน ดังทีองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาบอกว่าภาวะซึมเศร้านั้นเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการที่เกิดขึ้นทั่วโลกและแทรกซึมอย่างมีส่วนร่วมหลักกับภาวะของโรคต่างๆ ในระดับโลก 

กว่าซึมเศร้าจะเป็นเรื่องที่ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจและยอมรับว่าเป็นความเจ็บป่วยเหมือนโรคทางกายอื่นๆ ภาวะนี้ผ่านความเข้าใจมาอย่างไรบ้าง Thisable.me ชวนย้อนดูว่า โลกซึมเศร้าในแต่ละยุคสมัยมีความหมายแปรผันไปอย่างไรบ้าง

เม-ลัง-โค-เลีย (Melancholia) ชื่อเรียกแรกของภาวะซึมเศร้า 

ฮิปโปเครติส (Hippocrates) แพทย์ชาวกรีกที่ต่อมาได้รับการขนานนามว่า บิดาการแพทย์ตะวันตกนั้นเชื่อว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยของเหลว 4 ชนิด ได้แก่ เลือด น้ำดีเหลือง น้ำดีดำและเสมหะ โดยความร้อน ความเย็น ความชื้นและความแห้งจากสภาพแวดล้อมส่งผลให้ของเหลวในร่างกายเสียสมดุลจนทำให้เกิดความเจ็บป่วย

ภาพฮิปโปเครติส  (Hippocrate)

ฮิปโปเครติส  (Hippocrate)
อ้างอิงภาพ: wellcomecollection.org

และน้ำดีดำ (Black Bile) หรือภาษากรีกโบราณที่เรียก เมลังโคเลีย นี่แหละที่คนเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ดังนั้น ซึมเศร้าถูกขนานนามว่าเมลังโคเลีย โดยให้ความหมายว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีอาการหลักๆ ก็คือ ความรู้สึกโศกเศร้าและความกลัว เพราะเกิดจากร่างกายมีน้ำดีดำมากเกินไป

ยุคมืดของโลกซึมเศร้า

หลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสลาย ความโกลาหลวุ่นวายจากการรุกรานของชนเผาต่างๆ ทำให้คนต้องการที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จนคริสต์ศาสนากลายเป็นที่พึ่งทางใจ และยังเป็นเสาหลักของทุกเรื่องในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือเรื่องภาวะซึมเศร้าก็ถูกครอบงำภายใต้กรอบความคิดของคริสต์ศาสนาด้วย

ช่วงตอนต้นของยุคกลาง ใครที่ทำอะไรแตกต่างจากสังคมแค่นิดเดียว รวมถึงคนที่มีภาวะซึมเศร้าและแยกตัวออกจากสังคมไม่สุงสิงกับใคร ก็จะถูกโยงว่าเป็นพ่อมด แม่มด ซาตาน หรือมีผีร้ายเข้ามาสิงร่าง จึงเกิดวิธีขับไล่ผีออกจากร่างกายหลายรูปแบบ ไล่ตั้งแต่วิธีเบสิกทางศาสนา เช่น การสวดมนต์ ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ ไปจนวิธีการโหดเหี้ยมอย่างการเฆี่ยนตี จับถ่วงน้ำ ตัดหัวและเผาทั้งเป็น

ภาพนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนากำลังทำพิธีกรรมขับไล่ผีร้าย

นักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนากำลังทำพิธีกรรมขับไล่ผีร้าย
อ้างอิงภาพ: commons.wikimedia.org

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1585 เกิดเหตุการณ์การเผาแม่มด 3 คน ในเมืองบาเดน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   โดยเดอะ วิเกียนา (The Wickiana )

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1585 เกิดเหตุการณ์การเผาแม่มด 3 คน ในเมืองบาเดน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   โดยเดอะ วิเกียนา (The Wickiana )
อ้างอิงภาพ: en.wikipedia

ผู้ต้องสงสัยว่าแม่มดถูกแขวนคอในประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1655

ภาพผู้ต้องสงสัยว่าแม่มดถูกแขวนคอในประเทศอังกฤษ
ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1655
อ้างอิงภาพ: en.wikipedia.org

แง่มุมทางเทววิทยามีอิทธิพลกับผู้คนช่วงยุคกลางตอนปลาย พวกเขาเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องของจิตวิญญาณมากกว่าร่างกาย ดังนั้นภาวะซึมเศร้าจึงเกิดจากจิตวิญญาณที่ต่อสู้กับอาซีเดีย (Acedia; ภาษาละติน) และสโลธ (Sloth; ภาษาอังกฤษ) ที่หมายถึงความเกียจคร้าน การกระทำดังเกล่าจึงถูกมองว่าเป็นการกระทำที่พระเจ้าไม่ทรงโปรด และก่อความผิดบาป เทียบเท่ากับบาปกำเนิดและบาป 7 ประการ

บาปกำเนิด (Original sin) เกิดจากขัดคำสั่งของพระเจ้าห้ามเอวาชวนอาดัมให้กินผลไม้จากต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว

บาปกำเนิด (Original sin)
เกิดจากขัดคำสั่งของพระเจ้าห้ามเอวาชวนอาดัมให้กินผลไม้จากต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว
อ้างอิงภาพ: metmuseum.org

บาป 7 ประการ ทางคริสต์ทางศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่ามนุษย์มีบาปในใจอยู่เจ็ดประการ ซึ่งบาปแต่ละประเภทก็จะแทนด้วยสัตว์ต่างๆ เช่น กบเป็นตัวแทนโลภะ งูเป็นตัวแทนความริษยา หมูเป็นตัวแทนตะกละ นกยูงเป็นตัวแทนอัตตาหรือความเย่อหยิ่ง เป็นต้น

บาป 7 ประการ
ทางคริสต์ทางศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่ามนุษย์มีบาปในใจอยู่เจ็ดประการ ซึ่งบาปแต่ละประเภทก็จะแทนด้วยสัตว์ต่างๆ เช่น กบเป็นตัวแทนโลภะ งูเป็นตัวแทนความริษยา หมูเป็นตัวแทนตะกละ นกยูงเป็นตัวแทนอัตตาหรือความเย่อหยิ่ง 
อ้างอิงภาพ th.wikipedia.org

อยากเป็นอัจฉริยะ ก็แค่ทำตัวซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าในยุคเรอเนสซองส์ได้รับอิทธิพลจากหนังสือชื่อว่า Problemata ได้เชื่อมโยงภาวะซึมเศร้ากับความเป็นอัจฉริยะ ผสมผสานกับแนวคิดของนักปราชญ์ชาวอิตาเลียนที่ชื่อว่ามาร์ซีลีโอ ฟีชีโน (Marsilio Ficino) ที่เชื่อว่าอิทธิพลของดาวเสาร์ที่แห้งเย็นและดำมืดเหมือนน้ำดีดำนั้นถูกโยงเข้ากับซึมเศร้าจะช่วยให้นักปราชญ์หยั่งรู้อนาคต เข้าถึงความลับของธรรมชาติและมีปัญญาสูงสุด หากนักปราชญ์สามารถเรียนรู้และควบคุมภาวะซึมเศร้าได้

มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน (Marsilio Ficino)

มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน (Marsilio Ficino)
อ้างอิงภาพ: wellcomecollection.org

เมื่อซึมเศร้าได้รับการตีความใหม่ นักปราชญ์และชนชั้นสูงในยุโรปตอนเหนือและอังกฤษจึงแกล้งทำตัวเป็นซึมเศร้าตามเทรนด์สมัยนั้น โดยมีชาวอิตาลีที่ได้รับอิทธิพลความคิดจากมาร์ซีลีโอ ฟีชีโนทำให้เกิดกระแสนิยมในยุคเรอเนสซองส์และอังกฤษสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16

สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ชุดความคิดนี้ปรากฎขึ้นอีกครั้งในยุควิทยาศาสตร์ แต่สิ่งต่างกันก็คือ  ยุควิทยาศาสตร์เชื่อว่า ระบบประสาทและสัญชาติญาณสัตว์อันละเอียดอ่อนเป็นสาเหตุทำให้คนซึมเศร้า ซึ่งถือได้ว่า เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของบุคคลที่มีความอัจฉริยะ 
 

อิสระภาพและความเมตตากรุณาต่างหาก เป็นวิธีการรักษา

ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซีกโลกตะวันตกเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลจิตเวชขึ้นมา แต่เรียกว่าโรงพยาบาลก็เรียกได้ไม่เต็มปาก เพราะบรรยายกาศข้างในเหมือนกับคุกที่ยัดคนแปลกแยกในสังคมเช่น คนไร้บ้าน คนพิการ คนที่มีอาการทางจิต ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือภาวะซึมเศร้า ที่ถูกนับว่าเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่ง โดยจะถูกคอยล่ามโซ่ไว้ไม่ให้หนีออกไปสู่สังคมคน ‘ปกติ’ 

ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เริ่มมีคนรู้จักโรงพยาบาลเบธเลม (Bethlehem Hospital) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชสมัยนั้น จากจาโคเบียดราม่าและบัดลาด  (Jacobean dramas and ballads) และละครของเชคสเปียร์เรื่อง Hamlet and Macbeth เพราะมีตัวละครบางตัวเป็นบ้า ทำให้ผู้ชมต่างสงสัยว่าคนบ้าเป็นอย่างไร โรงพยาบาลจึงตอบสนองความอยากรู้ของประชาชนโดยเปิดโรงพยาบาลให้คนภายนอกเข้าชม ซึ่งมีคนเข้าชมกว่า 96,000 คนและกลายเป็นสถานที่เที่ยวยอดฮิตอันดับสองรองจากมหาวิหารนักบุญพอลที่เดียวเท่านั้น 

โรงพยาบาลเบธเลม

โรงพยาบาลเบธเลม (Bethlehem Hospital)
อ้างอิงภาพ: wellcomecollection.org

ช่วงปี ค.ศ. 1676 โรงพยาบาลเบธเลมถูกปรับปรุงใหม่ออกแบบโดย รอเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) นักสำรวจเมืองที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากพระราชวังตุยเลอรีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อสร้างเสร็จหลายคนบอกว่าเหมือนพระราชวังแวร์ซายมากกว่าโรงพยาบาลบ้า กระนั้นเองการปฏิบัติกับคนไข้อย่างโหดร้ายรุนแรงก็ยังอยู่ เช่นกรณีของวิลเลียม นอร์ริส (William Norris) ที่ถูกกักขังเดียวและยังล่ามโซ่ไว้กับเตียงมากว่า 12 ปีแล้ว 

วิลเลียม นอร์ริส ในปีค.ศ. 1814

วิลเลียม นอร์ริส ในปีค.ศ. 1814
อ้างอิงภาพ: wellcomecollection.org

บรรยากาศภายในโรงพยาบาลเบธเลม โดยวิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth)

บรรยากาศภายในโรงพยาบาลเบธเลม
โดยวิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth)
อ้างอิงภาพ: wellcomecollection.org

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18  ฟิลิป พิเนล (Philippe Pinel) แพทย์โรงพยาบาลจิตเวชบิเซเทรอ (Bicêtre Hôpital) ในปารีสเห็นว่า วิธีการรักษาเดิมๆ ที่ป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรมนั้นไม่สมควรเกิดขึ้น จึงตัดสินใจปลดโซ่ตรวนคนป่วยท่ามกลางความตกใจของคนในสังคม เขาพิสูจน์ให้เห็นว่าการกักขังล่ามโซ่ให้คนอยู่แต่ในโรงพยาบาลไม่ได้ช่วยรักษาโรค แต่อิสระ ความเมตตากรุณา จะช่วยรักษาโรคจิตเวชต่างๆ ได้

ฟิลิป พิเนล (Philippe Pinel)

ฟิลิป พิเนล (Philippe Pinel)
อ้างอิงภาพ: en.wikipedia.org

ฟิลิป พิเนล ปลดโซ่ตรวจให้คนป่วยโรคจิตเวช

ฟิลิป พิเนล ปลดโซ่ตรวจให้คนป่วยโรคจิตเวช
อ้างอิงภาพ: en.wikipedia.org


วิธีการรักษาซึมเศร้าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การันตีความสยดสยองด้วยรางวัลโนเบล

ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แพทย์พยายามคิดค้นวิธีการรักษาอาการซึมเศร้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะการถ่ายเลือด (Bloodletting) การเจาะกะโหลกศีรษะ (Trephination) การบำบัดด้วยการฉีดอินซูสิน (Insulin Coma Therapy)  การกรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy ;ECT) และอีกวิธีที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ การผ่าตัดเส้นประสาทกลีบสมองส่วนหน้า (Lobotomy) ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ.1949 วิธีการรักษาคือ การใช้เหล็กแหลมยาวเจาะเข้าไปที่เบ้าตาและใช้ค้อนตอกจนถึงสมอง แล้วตัดเนื้อสมองสีขาวของของสมองส่วนหน้าออก 

วอลเตอร์ แจ็กสัน แพทย์อเมริกาที่เชียวชาญการผ่าตัดการผ่าตัดเส้นประสาทกลีบสมองส่วนหน้า (Lobotomy)  กำลังผ่าตัดคนไข้ในค.ศ. 1950

วอลเตอร์ แจ็กสัน
แพทย์อเมริกาที่เชียวชาญการผ่าตัดเส้นประสาทกลีบสมองส่วนหน้า (Lobotomy) 
กำลังผ่าตัดคนไข้ในค.ศ. 1950
อ้างอิงภาพ: npr.org

ฮาวเวิร์ด ดัลลี (Howard Dully) หนึ่งในผู้รับการผ่าตัดเส้นประสาทกลีบสมองส่วนหน้าที่มีอายุน้อยที่สุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1960
อ้างอิงภาพ: npr.org

วอลเตอร์ รูดอล์ฟ เฮสส์ (ด้านซ้าย) และ แอนโตนิโอ เอกัส โมนิซ (ด้านขวา) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ปีค.ศ.1949 จากการค้นพบวิธีผ่าตัดแบบ Lobotomyคนด้านซ้าย—วอลเตอร์ รูดอล์ฟ เฮสส์ (Walter Rudolf Hess)
คนด้านขวา—แอนโตนิโอ เอกัส โมนิซ (Antonio Caetano de Abreu Freire Egas Moniz)
เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปีค.ศ. 1949
จากการค้นพบวิธีผ่าตัดเส้นประสาทกลีบสมองส่วนหน้า (Lobotomy) 
อ้างอิงภาพ: nobelprize

แม้จะเป็นวิธีการรักษาที่สยดสยอง แต่ก็รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา และมีคนดังหลายคน ได้แก่ Rosemary Kennedy น้องสาวของจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, Rose Williams น้องสาวของเทนนิสซี วิลเลียมส์ (Tennessee Williams) นักเขียนบทละครแนวหน้าของสหรัฐอเมริกา, ลีน่า ซาวาโรนี (Lena Zavaroni) นักร้องชาวสก็อตและโจเซฟ แฮสซิด (Josef Hassid) นักไวโอลินชาวโปแลนด์ ที่รักษาด้วยวิธีนี้ 

 

ไม่ใช่เพราะน้ำดีดำมากเกิน ผีเข้าสิงหรือพระเจ้าลงโทษ แต่เป็นเรื่องของสารเคมีในสมองล้วนๆ

วิวัฒนาการความรู้เพิ่มมากขึ้นและการปฏิบัติกับผู้ป่วยฐานะคนไม่ใช่สัตว์ เริ่มทำให้แพทย์เห็นสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซึมเศร้าว่าเป็นความปกติของสมองไม่ใช่จากน้ำดีดำภายในมีมากเกิน  จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของภาษาด้วย ในปี ค.ศ.1975  อดอล์ฟ เมเยอร์ (Adolf Meyer) จิตแพทย์ชาวสวิสเสนอให้ใช้คำว่า Depression แทนคำว่าเมลังโคเลีย เพราะมีความหมายเชิงการแพทย์ปัจจุบันมากกว่า 

อดอล์ฟ เมเยอร์ (Adolf Meyer) ในปีค.ศ. 1900

อดอล์ฟ เมเยอร์ (Adolf Meyer) ในปีค.ศ. 1900
อ้างอิงภาพ: en.wikipedia.org

ในช่วงปี ค.ศ.1970 เกิดกระแสต่อต้านจิตเวชศาสตร์และการวินิจฉัยโรคที่ไม่แน่นอน ทำให้วงการจิตแพทย์ต้องหาเกณฑ์มาตรฐานในการวินิจฉัยรักษาโรคร่วมกันเรียกว่า DSM ย่อมาจากคำว่า Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ที่ค่อยๆ ศึกษาพัฒนามาจาก DSM-1 จนถึง DSM-5 ใช้เป็นเกณฑ์รักษาโรคซึมเศร้าในทุกวันนี้

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตเล่มที่ 5 (DSM-5)

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตเล่มที่ 5 (DSM-5)
อ้างอิงภาพ: appi.org

จะเห็นได้ว่า ภาวะซึมเศร้าแปรเปลี่ยนไปตามความเชื่อ ความรู้ทางการแพทย์และบริษททางสังคมของคนแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ดี แม้ภาวะซึมเศร้าจะถูกเข้าใจในฐานะของวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่ก็ยังเกิดการตีตราผู้ป่วยพ่วงรวมกับอคติด้านเชื้อชาติ หรือฐานะทางการเงิน เช่น หากผู้ก่อการร้ายผิวขาวกราดยิงอาจถูกมองว่าเป็นโรคจิตเวช แตกต่างจากผู้ก่อการร้ายชาวแอฟริกันอเมริกันที่อาจถูกมองว่า เป็นพวกใช้ความรุนแรงและมักมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน เช่นเดียวกับในไทย ที่หลายครั้งภาวะซึมเศร้าอาจถูกมองเป็นเหตุของการทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น  

ในอนาคตโลกซึมเศร้าจะถูกนิยามว่าอย่างไร การรักษา ความเข้าใจและการตีตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะถูกพัฒนาไปในทางไหนอาจขึ้นอยู่กับการเลือกใช้คำว่า ‘ซึมเศร้า’ ของคนในสังคมปัจจุบันก็เป็นได้ 

 

อ้างอิง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/135706
https://www.silpa-mag.com/history/article_19172
https://www.silpa-mag.com/history/article_19836
https://readthecloud.co/institute-of-psychiatry/
https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/history-of-psychiatry
https://www.sciencemuseum.org.uk/objects-and-stories/mental-health
https://www.everydayhealth.com/pictures/worst-mental-health-treatments-history/
https://online.csp.edu/resources/article/history-of-mental-illness-treatment/
http://oaji.net/articles/2016/1170-1457809587.pdf 
https://web.facebook.com/PsychologistCafe/posts/1639837282923676/
https://www.blockdit.com/posts/5dc50d9f99f05869fb380af7
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression
https://www.bbc.com/culture/article/20161213-how-bedlam-became-a-palace-for-lunatics