Skip to main content
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ณ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ถนนอรุณอมรินทร์ "มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ร่วมกับ "กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เปิดตัวโครงการ "ปั่นไปไม่ทิ้งกัน No One Left Behind ปี 2" 
เครือข่ายดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ นครปฐม จัดกิจกรรมแจกสติ๊กเกอร์และใบปลิวอธิบายความสำคัญของวันที่ 3 ธันวาคม วันคนพิการสากล ในงานวันคนพิการจังหวัดนครปฐมซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 18 มกราคม 
การเริ่มต้นของศิลปะคนพิการ (Disability arts movement) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1980 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเรียกร้องกฎหมายเรื่องสิทธิคนพิการ ในช่วงนั้นคนพิการได้แสดงออกถึงความคับแค้นใจผ่านงานศิลปะต่างๆ ทั้งประติมากรรม ภาพวาดหรืองานแกะสลัก โดยเรียกผลงานเหล่านั้นว่า “ศิลปะแห่งการประท้วง” โปรเจค The aim of
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, UNFPA ประเทศไทย, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ และวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดงานรายงานผลการสำรวจสถานการณ์สิทธิสุขภาวะทางเพศของเด็กและเยาวชนพิการเพื่อรายงาน “สถานการณ์การใช้นโยบายในประเด็นสิทธิทางเพศ และอนามัย เจริญพันธุ
ไฟรอา เดวิด (Freia David) พนักงานแมคโดนัลด์ที่มีชื่อพ้องเสียงกับตำแหน่งงานทอดเฟรนฟรายส์ หรือ Fry cook ที่เธอทำมากว่า 32 ปีในร้านแมคโดนัลด์ของเมืองนีดแฮม รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการจัดปาร์ตี้เกษียณอายุงานหลังร่วมงานกันมาเป็นระยะเวลานาน
เมย์ราและโรเบอโต คอนทรีราส คู่รักแพทย์อายุรศาสตร์และสูตินารีแพทย์ ไม่เคยนึกเลยว่า หลังจากจบการศึกษาจากสายแพทย์แล้ววันหนึ่งพวกเขาทั้งคู่จะกลายเป็นเจ้าของธุรกิจของเล่น
“เราสังเกตได้ว่า วันไหนที่แต่งหน้าจัด แต่งตัวดี ถือกระเป๋าแบรนด์ คนมองเราน่าสงสารน้อยลง และได้คะแนน “วีรสตรี” เพิ่มขึ้น พ่วงมากับคำพูดว่า “เก่งนะคะ สวยนะคะ หน้าตาดีนะคะ แต่น่าเสียดายเดินไม่ได้”
Scene  1 ดาบของเล่นภายนอก / ลานกิจกรรมของโรงเรียนเศรษฐเสถียร / กลางวันซอล ซอล... มี ซอล ลา โด... เร โด ลา... ซอล ซอล มี...  เสียงเพลงลอยกระทงจากการเขย่าอังกะลุงดังขึ้น พร้อมๆ กับเสียงเคาะกระดานเพื่อกำกับจังหวะ เด็กๆ ที่กำลังถือเครื่องดนตรีต่างจดจ้องไปที่ปลายของดาบไม้ของเล่นซึ่งเป็นตัวแทนของไม้บาตอง ต่างคนต่างรอให้คุณครูเคาะจนถึงตัวโน้ตของตัวเอง บางคนก็เหลือบมองคุณครูอีกคนที่กำลังปรบมืออยู่และพยายามเล่นให้ตรงจังหวะ   คุณครู“เก่งมาก คราวนี้ครูขอเพิ่มลูกหมด แต่ให้เพื่อนเป็นคนนำนะ”เมื่อคุณครูเขียนโน้ตชุดใหม่บนกระดานเสร็จ ก็ส่งสัญญาณไปยังนักเรียนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นคอนดักเตอร์ เด็กหญิงเดินออกมายืนด้านหน้า สูดหายใจเข้าลึกๆ กวาดตามองโน้ตชุดใหม่รอบหนึ่ง นับหนึ่ง สอง สาม ก่อนจะยกมือของเธอขึ้นมาเคลื่อนไหวเป็นสัญลักษณ์ของโน้ตดนตรี เพื่อนๆ ของเธอต่างจดจ้องไปที่มือที่กำลังเคลื่อนไหวนั้นอย่างมีสมาธิ รอจนถึงคิวของตัวเองก็เขย่าอังกะลุงตามสัญลักษณ์มือนั้นๆ แม้จังหวะจะเหลื่อมๆ หรือเร็วเกินไปบ้าง พวกเขาก็ประคับประคองกันไปได้จนจบเพลง   คุณครู“ลองอีกรอบนะ คราวนี้ให้เพื่อนลองเคาะจังหวะ ส่วนพวกเราก็ดูโน้ตตามไปนะ” คุณครูยื่นดาบของเล่นให้กับเด็กหญิง เธอรับมาด้วยความเคยชิน ก่อนจะลองเคาะเป็นจังหวะเบาๆ บนกระดานที่เต็มไปด้วยตัวโน้ตอันไม่คุ้นเคย ไม่นานนักเธอก็ส่งสัญญาณมือให้เพื่อนๆ รับรู้ว่าเธอกำลังจะเริ่มกำกับมันในไม่ช้านี้ สาม สอง หนึ่ง... เธอค่อยๆ เคาะไปตามจังหวะที่นับอยู่ในใจ อาจจะเร็วไป หรือช้าไปบ้าง แต่เพื่อนๆ ก็ตั้งใจเขย่าอังกะลุงที่จับแน่นอยู่ทั้งสองมือตามเธอไป ไม่นานนักก็มาถึงท่อนสุดท้ายที่จังหวะต้องเร่งขึ้น  เร มี ซอล... มี ซอล ลา... ซอล ลา โด... ลา โด เรโน้ตตัวสุดท้ายจบลงอย่างเฉียดฉิว นักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นมาดีใจอย่างแรงที่ตัวเองเล่นตามจังหวะได้สำเร็จ ลองสังเกตดูดีๆ หูของเขามีเครื่องช่วยฟังอยู่ เพื่อนๆ บางคนถึงกับถอนหายใจด้วยความโล่งอก บ้างก็หันไปหัวเราะและชี้เพื่อนที่ทำให้ตัวเองหลงจังหวะ สุดท้ายแล้วทุกคนก็หันไปยิ้มให้กัน และเริ่มสนทนาอย่างออกรสชาติด้วยภาษามือ  
ข่าวอุบัติเหตุตกรถไฟฟ้าของเด็กสาวคนหนึ่งที่สิงคโปร์เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน กว่า 7 ปีที่ผ่านมาชีวิตของเธอเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เหตุการณ์ในวันนั้นทำให้ชีวิตปัจจุบันของเธอเป็นอย่างไร
ค่ำคืนหนึ่งในปี 1875 ในรัฐ Lagerlunda ประเทศสวีเดน เกิดเหตุการณ์รถไฟโดยสารพุ่งชนรถไฟรางเดี่ยว จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและถูกเรียกกันอย่างติดปากว่า Lagerlunda Collision