Skip to main content

การเริ่มต้นของศิลปะคนพิการ (Disability arts movement) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1980 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเรียกร้องกฎหมายเรื่องสิทธิคนพิการ ในช่วงนั้นคนพิการได้แสดงออกถึงความคับแค้นใจผ่านงานศิลปะต่างๆ ทั้งประติมากรรม ภาพวาดหรืองานแกะสลัก โดยเรียกผลงานเหล่านั้นว่า “ศิลปะแห่งการประท้วง” โปรเจค The aim of the million pound นี้เกิดขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานศิลปะดังกล่าวไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนที่ผลงานจะสูญหายไปตามกาลเวลา

องค์กร National Disability Arts Collection and Archive (NDACA) ตั้งขึ้นเพื่อเปิดเผยเรื่องราวของกลุ่มคนพิการและพันธมิตรของคนพิการที่ร่วมกันพังทลายอุปสรรคต่างๆ ผลักดันให้เกิดกฎหมาย ตลอดจนการสร้างผลงานศิลปะและวัฒนธรรมชิ้นเยี่ยมระหว่างการต่อสู้เพื่อสิทธิทางกฎหมายด้วย

 

ผลงานชิ้นนี้ชื่อ Diversity โดยอลิสัน โลมาส (Alison Lomas) ซึ่งเป็นหนึ่งในงานศิลปะชิ้นแรกๆ ที่ถูกนำมารวบรวมไว้ที่  National Disability Arts Collection and Archive (NDACA)

 

ผลงานชิ้นนี้ของแพดดี้ เมซฟิลด์ (Paddy Masefield) เป็นอีกหนึ่งผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1980 ถึงปี ค.ศ.2000 แพดดี้ต้องการผลักดันให้สถาบันศิลปะต่างๆ เปิดใจยอมรับผลงานศิลปะจากคนพิการ นอกจากนี้งานของแพดดี้ยังสะท้อนไปถึงเรื่องการเมือง และการต่อสู้เพื่อสิทธิในงานศิลปะของคนพิการ

 

ผลงาน Great Britain From A Wheelchair โดยศิลปินที่ชื่อโทนี่ ฮีทตัน (Tony Heaton) ปี ค.ศ.1994 ผลงานชิ้นนี้สร้างมาจากวีลแชร์ที่ชาวอังกฤษได้มาจากระบบสวัสดิการ เพื่อสื่อถึงแผนที่ของเกาะอังกฤษ

 

ผลงานภาพถ่ายชิ้นสุดท้ายของโทนี่ ฮีทตันเมื่อปี ค.ศ.1970  ก่อนที่เขาจะกลายเป็นคนพิการหลังจากประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์

 

The Way Ahead ผลงานของแคร์โรไลน์ คาร์ดัส (Caroline Cardus) ในปี ค.ศ.2004 เธอต้องการจะสื่อถึงความไม่เท่าเทียมที่เธอพบเจอในชีวิตประจำวันในระหว่างที่เธอใช้วีลแชร์

 

ปัจจุบันนี้ Piss On Pity ได้กลายเป็นสโลแกนในการประท้วงของ Block Telethon ซึ่งเป็นการรณรงค์ต่อต้านการระดมทุนของ Telethon รายการซึ่งนำเสนอคนพิการในภาพทางลบ

 

Survival of the Shittest ผลงานของแมท เฟรเซอร์ (Mat Fraser) ในปีค.ศ.1999 แมทเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนที่น่าจดจำมากที่สุด เพราะเขามีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์ทั้งในฐานะนักดนตรีพิการ นักแสดง ผู้ดำเนินรายการ และนักเขียน

 

ภาพของศิลปิน โซฟี มอร์แกน (Sophie Morgan) ที่วาดโดยทานย่า ราบี (Tanya Raabe) ในปีค.ศ.2011 ทานย่าเป็นหนึ่งในนักวาดภาพบุคคลของ The disability arts movement ซึ่งมีผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานชุด Who's Who ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี

 

ผลงานอีกหนึ่งชิ้นของทานย่า เป็นผลงานที่นำเสนอถึงความสัมพันธ์ของความพิการกับการตั้งครรภ์ ทานย่าเป็นศิลปินVisual Art ที่มักนำเสนองานศิลปะถึงเรื่องอัตลักษณ์ ความพิการ เพศ และสัดส่วนร่างกาย ผลงานของทานย่าเป็นที่รู้จักอย่างดีจากการเป็นส่วนหนึ่งของ The UK’s disability movement โปรเจคที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ ‘Who’s Who’ ซึ่งเป็นโปรเจคภาพบุคคลที่วาดศิลปินพิการ โดยทานย่าได้นำประสบการณ์ชีวิตของเธอทั้งในฐานะผู้หญิง คนพิการ และสภาพแวดล้อมที่เธอพบเจอในชีวิตประจำวันมาถ่ายทอดผ่านงานศิลปะ

 

ภาพถ่ายจากภาพยนตร์เรื่อง Freak Out ในปี ค.ศ.1997 ซึ่งกำกับโดยเดวิด เฮวีย์ (David Hevey) เป็นภาพของซากแพะที่นั่งอยู่ในวีลแชร์ นำเสนอเกี่ยวกับความพิการ ความกลัวและความปรารถนา ซึ่งเรียกความสนใจจากผู้ชมได้เป็นอย่างดี เดวิดเป็นทั้งผู้กำกับและช่างภาพที่ทำงานอยู่ในวงการมากว่าทศวรรษ ผลิตทั้งผลงานภาพยนตร์ โทรทัศน์ งานศิลปะและเป็นผู้บุกเบิกในในเรื่องศิลปะเพื่อความพิการ ปัจจุบันเดวิดดำรงตำแหน่งเป็นทั้งซีอีโอของ Shape Arts และเป็นผู้อำนวยการด้านกิจกรรมของ National Disability Arts Collection and Archive (NDACA)

 

แปลและเรียบเรียงจาก

https://www.bbc.com/news/disability-35063050?fbclid=IwAR2x4t8HsxIWOZcN1l_Pwd4l4PVzUL3pH6L8RrY-i2dGdHK3zOP-xr6mtf8

 

ข้อมูลเพิ่มเติมNational Disability Arts Collection and Archive (NDACA) และ The disability arts movement

https://the-ndaca.org/

https://the-ndaca.org/the-people/

https://the-ndaca.org/the-people/david-hevey/

https://the-ndaca.org/the-people/tanya-raabe-webber/

https://the-ndaca.org/the-people/mat-fraser/