Skip to main content

 ไม้เท้าขาวเป็นสัญลักษณ์สากลของคนตาบอดทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า เมื่อไรก็ตามถ้าพบใครถือไม้เท้าขาวเดินอยู่ก็จะรู้ได้ทันทีว่าคนนั้นเป็นคนตาบอดสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไม้เท้าขาวคือ คำประกาศของประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2507 ที่กล่าวให้วันที่ 15 ตุลาคมของทุกปีที่ถูกเรียกเป็นวันไม้เท้าขาวโลก (White Cane Safety Day) จนทำให้เกิดวิชาที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับคนตาบอดในการเคลื่อนไหวและการเดินทางคือ วิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่มี ดร.ริชาร์ด อี ฮูเวอร์ ริเริ่มและพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผู้ที่กำลังใช้ไม้เท้านั้นตาบอด, ป้องกันการชนสิ่งกีดขวางข้างหน้าและเพื่อบอกลักษณะของพื้นผิวที่กำลังเดินอยู่


ไม้เท้าขาวจะมีประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อคนตาบอดได้รับการฝึกฝนการใช้จากครูในเรื่องความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation and Mobility Instructor หรือ Peripatologist) และต้องฝึกนานพอที่จะแน่ใจได้ว่า คนตาบอดสามารถใช้ไม้เท้าเป็นเครื่องมือในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอิสระอย่างแท้จริง เพราะหากไม่เพียงพอ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย

ในประเทศไทยนิยมใช้ไม้เท้าแบบพับได้ เนื่องจากสะดวกและพับเก็บได้เล็ก ส่วนมากทำจากอลูมิเนียม
ตั้งแต่สามท่อนถึงเจ็ดท่อน แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ 4 ท่อน ถึงแม้จะราคาสูงกว่าชนิดอื่นและคงทนน้อยกว่าไม้เท้ายาว

แต่คนพิการชอบใช้เพราะสวยและสะดวก หลายคนอาจเข้าใจว่า คนที่ใช้ไม้เท้าขาวนั้นต้องเป็นคาตาบอด แต่แท้จริงแล้ว คนที่ใช้ไม้เท้าขาวอีกกลุ่มก็คือคนสายตาเลือนราง

 

คนสายตาบอดสนิทหมายถึง คนที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลยหรือมองเห็นได้บ้างไม่มากนัก ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน การสอน หรือทำกิจกรรมได้ และต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้ หากมีการทดสอบสายตาประเภทจะพบว่าสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/ 20 หรือน้อยกว่านั้นและมีลานสายตา โดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศา คนกลุ่มนี้โดยทั่วไปจะใช้ไม้เท้าสีขาว สำหรับคนสายตาเลือนรางหมายถึง คนที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนตาดี เมื่อทดสอบสายตาจะมีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 20/ 60 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตา โดยเฉลี่ย กว้างสูงสุดไม่เกิน 30 องศา คนกลุ่มนี้จะใช้ไม้เท้าสีขาวปลายแดง นอกจากนี้ ในต่างประเทศมีการใช้ไม้เท้าสีขาวสลับแดงเหมือนลายลูกกวาด สำหรับคนที่มองไม่เห็นหรือมองเห็นเลือนราง ที่พิการทางการได้ยินร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://veroniiiica.com/2018/01/12/decoding-the-colors-of-blindness-canes/

http://cfbt.or.th/dsc/index.php/article/15-blind-world

https://guru.sanook.com/6358/