Skip to main content

พ.ญ.วรัชยา ฟองศรัณย์ แพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ผู้อำนวยการบริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัด กล่าวว่า การมีลูกเป็นเด็กฉลาด คือสุดยอดปรารถนาของพ่อแม่ โดยทั่วไปสมองเด็กจะค่อยๆ พัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาได้ 8 สัปดาห์ และเซลล์สมองจะค่อยๆ พัฒนาเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 8 ขวบ แต่มักมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ โดยพบว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดน้ำหนักน้อย แม่ที่มีปัญหาคลอดลูกยาก รวมไปถึงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด จะมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยเกิดป่วยเป็นโรคสมองพิการ (Cerebral Pulsy: CP)


ภาพจาก http://uploads.medicaljane.com/wp-content/uploads/2014/07/typesofcerebralpalsy.jpg

พ.ญ.วรัชยา กล่าวต่อว่า โรคสมองพิการ หรือซีพี เป็นคำรวมกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลทำให้การประสานการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว ท่านั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมาจาก 3 ระยะ อันได้แก่ 1.ระยะก่อนคลอด เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะสายสะดือพันคอ 2.ระยะคลอด ทารกที่มีปัญหาคลอดยาก สายสะดือถูกกดทับ และ 3.ระยะหลังคลอด ทารกได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ตัวเหลืองรุนแรงเมื่อแรกเกิด การติดเชื้อในสมอง ระยะที่ 1 และ 2 มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงทำให้สมองขาดออกซิเจน ส่วนระยะที่ 3 เกิดความผิดปกติที่เนื้อสมองเองโดยตรง

บริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัดได้รายงานความปลอดภัยและความเป็นไปได้ของการรับสเต็มเซลล์ที่ได้จากการเก็บเลือดจากรกและสายสะดือของตนเองกับผู้ป่วยเด็กในวัยหัดเดินที่มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการชนิดซ๊พี 2 ราย โดยฉีดยา Granulocyte Colony Stimulating Factor (G-CSF) ในขนาดที่ต่ำ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้การเคลื่อนไหวของเด็กที่เป็นโรคสมองพิการนัั้นดีขึ้น

หมอยังกล่าวปิดท้ายว่า อุบัติการณ์ของโรคสมองพิการในเด็กมีความชุกของโรคคือ 2.1 ต่อการเกิดของทารก 1,000 คน และนอกจากนั้นโรคสมองพิการยังสามารถเกิดได้จากอุบัติเหตุหากเด็กเล็กได้รับการกระทบกระเทือนสมอง ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและท่าทาง ทำให้ไม่สามารถเดินได้เหมือนเด็กทั่วไป เพราะเกิดความผิดปกติที่ในสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการและความรุนแรง เช่น การให้ยาคลายกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ การแก้ไขภาวะผิดปกติของการรับรู้ที่สำคัญ โดยอาศัยเครื่องช่วยการได้ยิน การฝึกพูด หรือแม้แต่การผ่าตัด ซึ่งจะทำในรายที่เด็กมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดรูปที่รุนแรงเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยดุกต์ สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์ข้อมูลงานวิจัยผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยโรคสมองพิการ ด้วยสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือของตัวเองว่า ช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมองได้จริง ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโลก ทำให้ปัจจุบันทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจโรคดังกล่าวเป็นอย่างมาก

 

ที่มาจาก http://www.thaipr.net