Skip to main content
ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล คือวิทยาลัยของคนพิการ เพราะอะไรน่ะหรือ?เพราะราชสุดามีนักศึกพิการเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก ดังที่เราจะเห็นพวกเขาเดินไปพร้อมไม้เท้าขาว วีลแชร์ หรือพูดคุยกันผ่านภาษามือ ชวนคุยกับแพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา ถึงการศึกษาในเรื่องความพิการ และความเป็นไปได้ของการทำงานในเรื่องนโยบายคนพิการที่วิทยาลัยพยายามผลักดัน
“อยากไปที่ ….. ต้องนั่งรถเมล์สายอะไร”คำถามที่มักไร้คำตอบ เมื่อการจดจำและทำความเข้าใจสายรถเมล์ต่างๆ เป็นเรื่องยาก แถมยังไม่สามารถอ่านได้อย่างเข้าใจเมื่ออยู่ที่ป้ายรถเมล์  นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ Mayday (เมล์เดย์) กลุ่มคนที่สนใจเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ลุกขึ้นมาทำบางอย่าง เพื่อให้การเดินทางในบ้านเราสะดวก ประหยัดและรวดเร็วชวน กรวิชญ์ ขวัญอารีย์ กราฟิคดีไซน์ประจำ Mayday เล่าประสบการณ์การออกแบบการขึ้นรถเมล์แบบใหม่ ที่ท้าทายความสามารถ และเปลี่ยนแปลงความไม่ชัดเจนเดิมเพื่อให้คนทุกคนสามารถใช้งานบริการรถสาธารณะ ได้ตามหลัก Inclusive Design
คุยนโยบายคนพิการพรรคพลังประชารัฐกับกอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรค ทั้งเรื่องนโยบายการสนับสนุนคนพิการเป็นผู้ประกอบการ และแนวทางการพัฒนาคความสามารถของคนพิการให้เป็นต้นแบบของคนพิการคนอื่นๆ
เราอาจไม่ค่อยหรือไม่เคยเห็นป้ายหาเสียงของพรรคสามัญชนมาเท่าไหร่นัก เพราะสามัญชนเป็นพรรคการเมืองเล็กๆ ที่ส่งผู้สมัครเพียงไม่กี่เขต และหนึ่งในนั้นคือผู้สมัครบัญชีรายชื่อ สุริยา แสงแก้วฝัน ที่ทำงานในประเด็นคนพิการ
คุยนโยบายคนพิการกับพรรคชาติพัฒนา กับเยาวภา บุรพลชัย ถึงโยบายที่ไร้ความขัดแย้งกับใคร  ที่จะทำให้คนพิการใช้ชีวิตสะดวกด้วยการออกแบบแบบอารยสถาปัตย์ การผลักดันให้คนทุกคนสุขภาพดีด้วย Sport Complex ทั่วประเทศ
สัมภาษณ์ นพ.เรวัต วิศรุตเวช รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ถึงเรื่องนโยบายด้านคนพิการ ที่จะเน้นทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อม การเดินทางที่สะดวก ครบครัน ปลอดภัย และการจัดการกองทุนคนพิการ รวมถึงกองทุนสวัสดิการอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด
ในออฟฟิศสีขาวที่ถูกจัดวางอย่างทันสมัย โลโก้สามเหลี่ยมสีส้มเห็นได้ชัดทั่วบริเวณ "คนเท่าเทียมกัน ไทยเท่าทันโลก" เป็นสโลแกนของพรรคอนาคตใหม่ที่ใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ แล้วคนพิการจะเท่าเทียมกันและเท่าทันโลกได้อย่างไร ชวนคุยกับศิริกัญญา ตันสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายพรรคอนาคตใหม่ ถึงปัญหา และนโยบายด้านคนพิการที่พรรคจะทำ รวมทั้งคำเชิญชวนที่อยากเห็นทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องการเมืองให้มากขึ้น
อูดิ พอลลัค (Udi Pollak) นักออกแบบด้านการเข้าถึงของคนพิการชาวอิสราเอลซึ่งนั่งวีลแชร์ ถูกปฏิเสธให้นำแบตเตอรี่ของวีลแชร์ไฟฟ้าไปด้วยขณะบิน จนทำให้เขาตกเครื่องทั้งที่วีลแชร์ไฟฟ้าของเขานั้นมีใบรับรองแล้ว
"นโยบายของทุกรัฐบาลที่ผ่านมามักมองข้ามคนพิการ เป็นเพียงนโยบายที่คิดให้คนพิการเท่านั้น แต่ไม่มีวิธีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ยั่งยืน หรือทำให้บริการสาธารณะรองรับคนพิการ จึงควรมีพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบายเหล่านี้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ เลยเป็นที่มาของพรรคพลเมืองไทยที่จะเน้นนโยบายคนพิการ เพื่อให้คนพิการอย