Skip to main content
นานมาแล้ว ผมเคยสนทนากับมิตรสหายท่านหนึ่งถึงปัญหาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ไม่ใช่การออกแบบเพื่อทุกคน / การออกแบบเพื่อมวลชน / อารยสถาปัตย์ (Universal design) หนึ่งในนั้นคือระบบรถไฟฟ้า (ทั้งบนดินและใต้ดิน) ที่การออกแบบยังขาดๆ เกินๆ ในแทบทุกสถานี
ผู้ป่วยหรือผู้มีความบกพร่องทางจิตส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมไปพบจิตแพทย์และเข้ารับการรักษา เกิดจากการวิตกกังวล หวาดกลัว อับอาย และที่สำคัญไม่ต้องการถูกตีตราบาปจากสังคมว่า เป็นโรคจิต คนบ้า ฯลฯ โดยเชื่อว่าการมีสถานภาพเป็นผู้ป่วยจิตเวชแม้จะรักษาอาการจนหายดีแล้วก็ตาม จะทำให้ตนเป็นที่รังเกียจจนถูกกีดกันออกจากสังคม ไม่ถูกยอมรับ เสียโอกาสในด้านต่างๆ เช่น หน้าที่การงาน หรือแม้แต่การถูกเลือกปฏิบัติแตกต่างออกไปจากคนอื่น ท้ายที่สุดจึงเลือกปกปิดอาการและเก็บไว้เป็นความลับแทน รอคอยว่าสักวันหนึ่งคงหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาแล้วอะไรล่ะ? เป็นตัวการทำให้พวกเขาเข้าใจผิดเช่นนั้น เพราะอะไรจึงเชื่อว่า เรื่องที่เคยได้ยินเป็นเรื่องจริง ในวันนี้อดีตผู้ป่วยจิตเวชจะมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและบอกพวกคุณว่า ทั้งหมดที่เคยเชื่อมาเป็นแค่เรื่องโกหก! พร้อมเปิดเผยเรื่องราวที่จะเปลี่ยนทุกความเชื่อและฆ่าทุกความกลัวของคุณไปตลอดกาล สิ่งที่คิดกับความเป็นจริงจะต่างจากสิ่งที่รับรู้มาขนาดไหน ลองมาฟังประสบการณ์จริงจากปากพวกเขากัน
กระแสไอโฟนเจ็ดไหลเชี่ยวกรากอยู่บนสื่อสิ่งพิมพ์และโซเชียลมีเดีย สีใหม่ กันน้ำ หูฟังไร้สาย ทำให้หลายคนพูดถึงมันทั้งในชีวิตจริงและโลกออนไลน์--ฉันเองก็ไม่ต่าง        
ผู้ป่วยจิตเภทก่อคดีและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากแค่ไหน? รายงานชิ้นนี้พยายามยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นถึงตัวอย่างกระบวนการยุติธรรมในต่างประเทศกับกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็อาจต้องกลับมาหาคำตอบคำถามว่าแท้จริงแล้วผู้ป่วยจิตเภทนั้นก็อาชญากรรมมากน้อยเพียงใด?
เมื่อไม่นานมานี้ ภาพยนตร์สารคดี "เชอรี่" โดยโสภณ ฉิมจินดา เรื่องราวของเธอซึ่งนั่งวีลแชร์ขายพวงกุญแจตามย่านสถานบันเทิงที่พัทยา สร้างความรู้สึกว้าวให้เราไม่น้อย เพราะอะไรน่ะหรือ? เพราะเนื้อหาที่สื่อสารไม่ทำให้เห็นความลำบากตรากตรำของเชอรี่ แต่กลับมุ่งให้เห็นความเป็นมนุษย์ ความต้องการ และแรงปรารถนาโดยเฉพาะเรื่องเซ็กส์และความรักที่ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยคำว่า "ความพิการ"
‘วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ต่อเมื่อมีแรงมากระทำ หากปราศจากแรงวัตถุจะหยุดนิ่ง’ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 บอกไว้อย่างนั้น ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องใช้แรงทำสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แม้แต่ กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ก็ยังต้องใช้แรงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับสิ่งของ ลุกจากเตียง เปิดประตู ฯลฯ แต่กฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า ไม่ต่างจากคนไม่พิการ ชีวิตของเธอมีมากกว่าการคิดถึงเรื่องสุขภาพหรือระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ เธอได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น และทำในสิ่งที่อยากทำ แม้ปราศจากแรงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต จนในที่สุดก็ค้นพบบางสิ่งที่ทำให้เธอและผู้ป่วยคนอื่นๆ สามารถไปได้ไกลกว่าที่พวกเขาคาดคิดไว้ และพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เช่นกัน
คุณคิดว่า คำว่า deaf กับ Deaf แตกต่างกันหรือเปล่าครับในสังคมไทย จะ deaf หรือ Deaf ก็อาจแปลว่าหูหนวก หรือมีความ ‘พิการ’ ทางการได้ยินเหมือนๆกันหมด แต่ในอเมริกา deaf กับ Deaf นั้นแตกต่างกันอย่างมากคุณรู้ไหมว่าเพราะอะไร?
สนามเด็กเล่นแห่งใหม่ใน Zelienople เมืองเล็กๆ ของรัฐเพนซิเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจดูไม่แตกต่างอะไรกับสนามเด็กเล่นทั่วไป แต่สำหรับเด็กๆ ที่ศูนย์บริการ Glade Run Lutheran สนามเด็กเล่นแห่งนี้เป็นอะไรที่มากกว่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่า คนตาบอดมองไม่เห็นจะมองเห็นภาพได้อย่างไร? แต่โสภณ ทับกลอง กลับทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้กลายเป็นเรื่องจริง เขาคือคนพิการทางสายตาที่มองเห็นภาพต่างๆ ได้ไม่ต่างจากคนตาดี และวิธีที่เขาเลือกใช้แทนสายตามองก็ทำให้ใครหลายคนประทับใจ เพราะทุกภาพของเขาเกิดจากการจดจำการเคลื่อนไหว ช่วงเวลา และความรู้สึก