Skip to main content
เมื่อวันที่ 15 ก.พ.63 EDeaf หรือ Education for the Deaf ร่วมกับโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ จัดแสดงงาน “โสตทุ่ง Showcase” ที่ห้างสรรพสินค้า Siam Square One กรุงเทพฯ โดยแสดงผลงานของเด็กหูหนวก จากการทำงานร่วมกันตลอด 10 สัปดาห์ เช่น สติกเกอร์ไลน์ ภาพถ่าย หนังสั้น และการแสดง
Scene  1 ดาบของเล่นภายนอก / ลานกิจกรรมของโรงเรียนเศรษฐเสถียร / กลางวันซอล ซอล... มี ซอล ลา โด... เร โด ลา... ซอล ซอล มี...  เสียงเพลงลอยกระทงจากการเขย่าอังกะลุงดังขึ้น พร้อมๆ กับเสียงเคาะกระดานเพื่อกำกับจังหวะ เด็กๆ ที่กำลังถือเครื่องดนตรีต่างจดจ้องไปที่ปลายของดาบไม้ของเล่นซึ่งเป็นตัวแทนของไม้บาตอง ต่างคนต่างรอให้คุณครูเคาะจนถึงตัวโน้ตของตัวเอง บางคนก็เหลือบมองคุณครูอีกคนที่กำลังปรบมืออยู่และพยายามเล่นให้ตรงจังหวะ   คุณครู“เก่งมาก คราวนี้ครูขอเพิ่มลูกหมด แต่ให้เพื่อนเป็นคนนำนะ”เมื่อคุณครูเขียนโน้ตชุดใหม่บนกระดานเสร็จ ก็ส่งสัญญาณไปยังนักเรียนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นคอนดักเตอร์ เด็กหญิงเดินออกมายืนด้านหน้า สูดหายใจเข้าลึกๆ กวาดตามองโน้ตชุดใหม่รอบหนึ่ง นับหนึ่ง สอง สาม ก่อนจะยกมือของเธอขึ้นมาเคลื่อนไหวเป็นสัญลักษณ์ของโน้ตดนตรี เพื่อนๆ ของเธอต่างจดจ้องไปที่มือที่กำลังเคลื่อนไหวนั้นอย่างมีสมาธิ รอจนถึงคิวของตัวเองก็เขย่าอังกะลุงตามสัญลักษณ์มือนั้นๆ แม้จังหวะจะเหลื่อมๆ หรือเร็วเกินไปบ้าง พวกเขาก็ประคับประคองกันไปได้จนจบเพลง   คุณครู“ลองอีกรอบนะ คราวนี้ให้เพื่อนลองเคาะจังหวะ ส่วนพวกเราก็ดูโน้ตตามไปนะ” คุณครูยื่นดาบของเล่นให้กับเด็กหญิง เธอรับมาด้วยความเคยชิน ก่อนจะลองเคาะเป็นจังหวะเบาๆ บนกระดานที่เต็มไปด้วยตัวโน้ตอันไม่คุ้นเคย ไม่นานนักเธอก็ส่งสัญญาณมือให้เพื่อนๆ รับรู้ว่าเธอกำลังจะเริ่มกำกับมันในไม่ช้านี้ สาม สอง หนึ่ง... เธอค่อยๆ เคาะไปตามจังหวะที่นับอยู่ในใจ อาจจะเร็วไป หรือช้าไปบ้าง แต่เพื่อนๆ ก็ตั้งใจเขย่าอังกะลุงที่จับแน่นอยู่ทั้งสองมือตามเธอไป ไม่นานนักก็มาถึงท่อนสุดท้ายที่จังหวะต้องเร่งขึ้น  เร มี ซอล... มี ซอล ลา... ซอล ลา โด... ลา โด เรโน้ตตัวสุดท้ายจบลงอย่างเฉียดฉิว นักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นมาดีใจอย่างแรงที่ตัวเองเล่นตามจังหวะได้สำเร็จ ลองสังเกตดูดีๆ หูของเขามีเครื่องช่วยฟังอยู่ เพื่อนๆ บางคนถึงกับถอนหายใจด้วยความโล่งอก บ้างก็หันไปหัวเราะและชี้เพื่อนที่ทำให้ตัวเองหลงจังหวะ สุดท้ายแล้วทุกคนก็หันไปยิ้มให้กัน และเริ่มสนทนาอย่างออกรสชาติด้วยภาษามือ  
หลังเรียนจบจากโรงเรียนโสตศึกษานครปฐม เพลง-จุฑาทิพย์ ศรีธำรงวัชร์ก็เข้าเรียนต่อในราชภัฏนครราชสีมาในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาร่วมกับเพื่อนๆ ที่หูดี และได้รับเสียงเชียร์ให้เข้าร่วมประกวดนางงาม ก่อนที่เธอจะตัดสินใจส่งใบสมัครและได้รับตำแหน่งในที่สุดเพลงเล่าว่า การใช้ชีวิตร่วมกับคนหูดีเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง ทั้งเรื่องการสื่อสารและวัฒนธรรมที่ต่างกัน และนี่เองเป็นจุดประสงค์ของการมาประกวดนางงามของเธอในครั้งนี้ ที่ต้องการให้สังคมตระหนักถึงความเท่าเทียม และเปิดรับคนที่มีความแตกต่างกันมากขึ้น
ในงาน Good Society Expo 2018 ที่จัดขึ้นในห้างสรรพสินค้าเซนทรัลเวิลด์ มีกิจกรรมมากมายให้เราได้เลือกทำ หนึ่งในนั้นมีพาวิลเลียนหนึ่งที่เราชาว ThisAble.me สนใจเป็นพิเศษนั่นก็คือพาวิลเลียนคนพิการ ที่มีทั้งการจำลองเป็นคนพิการ ทำอาหารแบบคนตาบอดหรือแม้กระทั่งคุยกับคนหูหนวก ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่เราคงจินตนาการไม่ออกหากไม่เคยได้ลงมือทำ
“ ฝ่าลู่ทางชีวิตต้องคิดเฝ้าย้อมใจ โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้ ”
สำหรับคนหูหนวก ดนตรีอาจไม่ใช่เพียงแค่เสียง อย่างน้อยก็สำหรับผู้หญิงหูหนวกชาวอเมริกันคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ราเชล คอล์บปัจจุบัน ราเชลเป็นนักวิชาการอยู่ที่โรกส์ และกำลังเรียนต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเอโมรี ในสาขาวิชาด้านวรรณคดีอเมริกัน หูหนวกและพิการศึกษา และชีวจริยธรรม
นีล ดีมาร์โค นายแบบและนักแสดงหูหนวก ที่สาวๆ ล้วนพูดถึงความหล่อเหลาของเขาเป็นเสียงเดียวกัน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาเป็นนักกิจกรรมที่ทำงานรณรงค์เรื่องคนพิการทางการได้ยิน และเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจอีกด้วย
ว่ากันว่า ‘มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ’ และมนุษย์ที่เกิดตามกันมาก็บอกต่อสิ่งเหล่านี้ แถมหยิบยกสิ่งต่าง ๆ มาอธิบายว่าตัวเองเหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่นอย่างไรบ้างหากไม่ใช่แค่กับสัตว์ชนิดอื่นหรอกที่มนุษย์พยายามจะเหนือกว่า เพราะบางคนก็ทำทุกวิถีทาง เพื่อให้เหนือกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง จนบางครั้งมนุษย์ที่แตกต่างในด้านใดด้านหนึ่ง ก็ถูกทำให้ด้อยกว่าไปโดยปริยาย
คุณคิดว่า คำว่า deaf กับ Deaf แตกต่างกันหรือเปล่าครับในสังคมไทย จะ deaf หรือ Deaf ก็อาจแปลว่าหูหนวก หรือมีความ ‘พิการ’ ทางการได้ยินเหมือนๆกันหมด แต่ในอเมริกา deaf กับ Deaf นั้นแตกต่างกันอย่างมากคุณรู้ไหมว่าเพราะอะไร?
ใน 5-10 ปีข้างหน้า คนที่มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดด้วยโรคทางพันธุกรรม อาจได้รับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่พัฒนาประสาทหูเทียม โดยแทนที่เซลล์เดิมที่มีความบกพร่อง ตอนนี้อยู่ในขั้นทดลองใส่เข้าในหูผู้ป่วย