Skip to main content
เปิดตลาดนโยบายในฝันของคนพิการ เพิ่มกระบวนการยุติธรรมของคนพิการ-ผู้ช่วยคนพิการโดยรัฐ-ส่งเสริมท้องถิ่นกำกับหน่วยงาน-ระบุความพิการให้ชัดเจนและตอบสนองความต้องการมากขึ้น
หลายคนอาจสงสัยว่าเวลาใช้รถไฟฟ้า ไม่รู้จะขึ้นตรงไหนลงตรงไหน
ย้อนดู 26 ปีการต่อสู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอสจากวันแรกที่ทำสัญญาสัมปทาน จนปัจจุุบันที่การสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ก็ยังไม่เรียบร้อยดี แม้กลุ่มคนพิการจะยื่นฟ้องและชนะคดีต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 ที่กำหนดให้บีทีเอสต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่จนตอนนี้การก่อสร้างก็ยังคงดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และส่งผลให้เกิดการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่สร้างไม่ทันกำหนดเวลา เรื่องราวนี้เป็นมาอย่างไร  ThisAble.me รวมไว้ให้อ่านที่นี่แล้ว
10 เรื่อง ที่ ThisAble.me อยากเชิญชวนผู้อ่านกลับไปอ่านอีกครั้ง
เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม เราอาจเห็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง เป็นไม้สีขาวยาวๆ โดนแกว่งไปแกว่งมาขณะเขาหรือเธอเดินอยู่  และเราก็จะรับรู้โดยอัตโนมัติว่า เขาหรือเธอเหล่านั้น เป็นคนตาบอด แต่ไม่ใช่คนตาบอดเท่านั้นที่ใช้ไม้เท้าขาว คนที่มีสายตาเลือนรางก็ใช้มันด้วยเช่นกัน
ผู้ป่วยจิตเภทก่อคดีและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากแค่ไหน? รายงานชิ้นนี้พยายามยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นถึงตัวอย่างกระบวนการยุติธรรมในต่างประเทศกับกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็อาจต้องกลับมาหาคำตอบคำถามว่าแท้จริงแล้วผู้ป่วยจิตเภทนั้นก็อาชญากรรมมากน้อยเพียงใด?
‘วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ต่อเมื่อมีแรงมากระทำ หากปราศจากแรงวัตถุจะหยุดนิ่ง’ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 บอกไว้อย่างนั้น ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องใช้แรงทำสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แม้แต่ กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ก็ยังต้องใช้แรงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับสิ่งของ ลุกจากเตียง เปิดประตู ฯลฯ แต่กฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า ไม่ต่างจากคนไม่พิการ ชีวิตของเธอมีมากกว่าการคิดถึงเรื่องสุขภาพหรือระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ เธอได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น และทำในสิ่งที่อยากทำ แม้ปราศจากแรงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต จนในที่สุดก็ค้นพบบางสิ่งที่ทำให้เธอและผู้ป่วยคนอื่นๆ สามารถไปได้ไกลกว่าที่พวกเขาคาดคิดไว้ และพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เช่นกัน
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา เวทีพูดให้กำลังใจเกิดขึ้นเยอะมากในทัศนะของกฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ แต่จะทำอย่างไร ให้คนที่ได้รับแรงบันดาลใจเหล่านั้น ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง? เขาเชื่อว่า กระบวนการละคร จะช่วยให้คนพิการลุกขึ้นมาลงมือทำ และเรียกความมั่นใจในตัวเองออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ชีวิตของเราทุกคนถูกหล่อเลี้ยงด้วยความหวังและความฝัน ขณะที่ความสมบูรณ์ของชีวิตมักถูกเติมเต็มด้วยการได้ลงมือทำในสิ่งที่รัก การท่องเที่ยวไปทั่วทีปทั่วแดนก็เป็นอีกหนึ่งความฝันยอดฮิตที่หลายคนไฝ่ฝัน สำหรับโสภณ ฉิมจินดาก็เช่นกัน เขาชื่นชอบการท่องเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ ก่อนที่โชคชะตาเล่นตลกใส่ด้วยการซัดตัวเขาลงจากไหล่เขาจนกลายเป็นคนพิการ ถึงแม้ร่างกายจะพิการแต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้างหรืออุปสรรคที่จะทำให้เขาหยุดฝัน เขาไม่อาจทำใจปล่อยฝันและสิ่งที่รักให้หลุดมือไปได้ จึงตัดสินใจออกเดินทางด้วยตนเองอีกครั้งด้วยวีลแชร์ โอกาส และหัวใจ จนกระทั่งได้พบคำตอบว่า แท้จริงแล้วเขาไม่ได้ชอบเที่ยวแต่กลับหลงรักชีวิตในขณะเดินทางเสียมากกว่า
หลายคนอาจสงสัยว่า คนตาบอดมองไม่เห็นจะมองเห็นภาพได้อย่างไร? แต่โสภณ ทับกลอง กลับทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้กลายเป็นเรื่องจริง เขาคือคนพิการทางสายตาที่มองเห็นภาพต่างๆ ได้ไม่ต่างจากคนตาดี และวิธีที่เขาเลือกใช้แทนสายตามองก็ทำให้ใครหลายคนประทับใจ เพราะทุกภาพของเขาเกิดจากการจดจำการเคลื่อนไหว ช่วงเวลา และความรู้สึก