Skip to main content

17 สิทธิคนพิการ ที่ทุกคนควรรู้!

เปิด 17 สิทธิคนพิการที่ทุกคนควรรู้ ตั้งแต่เรื่องเบี้ยยังชีพ ค่าเดินทาง รักษาพยาบาล ไปจนถึงการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับความพิการ เพราะคนพิการมีสิทธิที่ใช้ได้ตลอด คนพิการเป็นคนไทย ไทยแปลว่าอิสระ คนพิการต้องสามารถเข้าถึงสิทธิและใช้ชีวิตได้อิสระ คนพิการไม่ยอมไปเป็นทาสคุณหรอกจ่ะ ! 

  1. จ้างงานคนพิการ

การจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 ที่ว่าด้วยเรื่องสถานประกอบการหรือหน่วยงานต้องจ้างผู้พิการในอัตราส่วน 100 : 1 คน และ มาตรา 35 หากไม่รับตามกำหนดตามมาตรา ม.33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุน โดยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ x 365 x จำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน ในกรณีไม่รับพนักงานตาม ม.33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุน หน่วยงานหรือสถานประกอบการอาจช่วยเหลือหรือจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่คนพิการได้

  1. เบี้ยคนพิการ

เบี้ยคนพิการ คนพิการจะได้รับเบี้ยคนพิการ 800 บาท/เดือน หากมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการ 1000 บาท/เดือน

  1. บริการล่ามภาษามือ 

ล่ามภาษามือ คนพิการทางการได้ยินและการสื่อสารมีสิทธิรับบริการล่ามภาษามือ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 

  1. ใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข

  2. สมัครงานหรือติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ 

  3. ร้องทุกข์การกล่าวโทษหรือพยาน ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น 

  4. เข้าร่วมประชุมอบรมหรือสัมมนา รวมทั้งเป็นผู้บรรยาย หน่วยงานหรือองค์กร เป็นผู้จัดซึ่งมี พิการทางการได้ยินเข้าร่วมด้วย 

  5. ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ ขอรับบริการสาธารณะได้แก่

  • ทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน เปิดแสดงตนอื่นๆตามกฎหมาย จัดนิติกรรมสัญญาและการขออนุมัติ การอนุญาตต่างๆ

  • ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย ให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานทางกฎหมาย นอกเหนือจากข้อ 3 การไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทต่างๆ

  • ขอรับบริการสาธารณะอื่นเพื่อความจำเป็นพื้นฐาน ของคนพิการและบุคคลในครอบครัว 

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการขอล่ามได้ (ที่นี่)

http://dep.go.th/Content/View/1343/2

  1. บริการผู้ช่วยคนพิการ (PA)

ผู้ช่วยคนพิการ (PA) คนพิการมีสิทธิที่จะได้รับบริการผู้ช่วยคนพิการ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคนพิการที่มีความจำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยคนพิการ อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ (ที่นี่)

          http://dep.go.th/Content/View/1339/1

  1. โควต้าลอตเตอรี่

โควต้าลอตเตอรี่ คนพิการสามารถรับฉลากกินแบ่งรัฐบาลไปขายได้ด้วยตนเองคนละไม่เกิน 6 เล่ม โดยลงทะเบียนกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือองค์กร มูลนิธิคนพิการที่ยื่นคุณสมบัติเป็นตัวแทนจำหน่าย 

เว็บไซต์กองสลาก https://www.glo.or.th/landing-page

  1. เงินกู้คนพิการ

เงินจาก “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เพื่อเป็นทุน เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ โดยบริการให้กู้ยืมนั้น คนพิการสามารถกู้ยืมเงินได้วงเงินไม่เกินรายละ 60,000 บาท หรือหากมากกว่าวงเงินให้รายละไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยและมีระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี 

  1. ปรับสภาพที่อยู่อาศัย

ปรับสภาพที่อยู่อาศัย คนพิการสามารถขอเงินเพื่อปรับสภาพภายในที่อยู่อาศัยไม่เกินคนละ 20,000 บาท โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ 4 ด้าน ประกอบด้วย ได้แก่ 1.ด้านความปลอดภัย 2.การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 3.การเตรียมการสำหรับในกรณีฉุกเฉิน และ 4.การจัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใช้สอย

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.thaihealth.or.th/Content/40654-%E0%B8%9E%E0%B8%81.%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20.html

  1. ค่าโดยสารอัตราพิเศษในการเดินทาง

สิทธิบริการค่าโดยสารอัตราพิเศษในการเดินทางด้วยระบบต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 

  2. รถไฟฟ้า BTS ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 

  3. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภทครึ่งราคา (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)

  4. บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภทครึ่งราคา (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)

  5. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคาสำหรับคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางร่างกาย เฉพาะเส้นทางการบินในประเทศ โดย และ ลดหย่อนค่าโดยสารร้อยละ 25 สำหรับผู้ช่วยเหลือคนพิการ 

  6. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 50 % (ไม่รวมค่าธรรมเนียม) ใช้ได้เฉพาะช่วง 1 มิ.ย. – 30 ก.ย. ของทุกปี

  7. บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา  ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท

  8. แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท *** โดยคนพิการต้องแสดงสมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการต่อเจ้าหน้าที่ และมีรายละเอียดเงื่อนไขต่างกัน กรุณาศึกษาเพิ่มเติม *** 

         อ่านรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่

http://www.1479hotline.org/archives/2318

  1. ส่งเสริมอาชีพ

คนพิการสามารถรับคำแนะนำในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง

  1. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

คนพิการสามารถใช้บริการอย่างครบวงจร และหากมีบัตรทอง (ท.74) สามารถใช้บริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่ง ทั้งการฟื้นฟู อาชาบำบัด วารีบำบัด

  1. เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี

คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาและอำนวยความสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

  1. ลดหย่อนภาษีคนพิการและผู้ดูแล

หากคนพิการมีรายได้ไม่เกิน 190,000 บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นภาษี และผู้ดูแลสามารถลดหย่อนภาษีได้ปีละ 60,000 บาท/ปี

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/528.pdf

  1. ยืมอุปกรณ์กระทรวงดิจิตัล

ยืมอุปกรณ์กระทรวงดิจิตัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม การยืมอุปกรณ์ ICT ของภาครัฐ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 1 ฉบับและสำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ 1 ฉบับ 

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.nectec.or.th/ace2019/wp-content/uploads/2019/09/20190909_SS04_Wansiri.pdf

  1. ยืมอุปกรณ์การท่องเที่ยวและกีฬา

สำหรับคนพิการที่มีความจำเป็นพิเศษทางการศึกษา สามารถขอยืมอุปกรณ์พลศึกษา เช่น บ็อคเซีย ลูกบอลมีเสียง และลูกบาสเกตบอลมีเสียง

  1. อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ

หากคนพิการเข้ารับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสถานพยาบาลต้องจัดหาอุปกรณ์เทียม หรือเครื่องคนพิการให้ หากไม่มีให้เบิกจากศูนย์สิรินธร กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  1. งบสงเคราะห์

งบสงเคราะห์ เงินที่จัดหาให้คนพิการ เช่น เบี้ยคนพิการ,เงินในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย,การกู้ยืมเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรือการเข้ารับการศึกษารวมทั้งการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ที่

http://dep.go.th/Content/View/1345/2

  1. กองทุนเงินออมวันละบาท (พอช.)

ข้อมูลจากสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. 2563