Skip to main content

ประมวลเหตุการณ์การเรียกร้องสิทธิคนพิการของชายจากศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่โยกรถสามล้อเข้ากรุงเทพมหานคร ไปจนถึงความเคลื่อนไหวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมสื่อ และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

 

โยกรถจากสุโขทัยมากรุงเทพเพื่อเรียกร้องสิทธิที่หายไป

ในวันที่ 5 ก.พ. มีรายงานข่าวว่า มีชายพิการโยกรถเข็นมาจากอำเภอแม่สัน ตำบลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยเป็นระยะทาง 300 กว่ากิโลเมตร จนกระทั่งถึงช่วงจังหวะอ่างทอง-อยุธยาจึงเป็นข่าว คนพิการดังกล่าวมีชื่อว่า นายมณฑล เพชรสังข์  อายุ 48 ปี เป็นคนพิการทางร่างกาย โดยระบุว่าตนอยากเข้าพบเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางและเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในส่วนกลางเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงอยากสะท้อนปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดอยุธยาเข้ามาเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ 

 

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระบุว่านายมณฑลเป็นคนพิการทางร่างกายจากอุบัติเหตุพลัดตกตึก ในปี 2557 ต่อมาจึงกลับมาประกอบกิจการที่บ้านในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งก็ได้เบี้ยคนพิการเรื่อยมา จนกระทั่งเดือนตุลาคมปี 2563 ข้อมูลทะเบียนบ้านของนายมณฑลถูกย้ายไปอยู่ทะเบียนกลางเพราะต้องโทษถูกดำเนินคดี และถูกระงับโดยอัตโนมัติ โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าหลังสิ้นสุดการดำเนินคดีนายมณฑลไม่ได้ไปแจ้งชื่อเพื่อย้ายกลับไปยังจังหวัดภูมิลำเนาจึงเป็นเหตุให้ไม่ได้รับเบี้ยความพิการ 

 

ภายหลังสิ้นสุดการดำเนินคดีนายมณฑลพยายามที่จะกลับไปทำบัตรประชาชนเพื่อจะได้รับสิทธิเบี้ยคนพิการ หลังบัตรประชาชนของตนหมดอายุแต่ก็ได้รับการปฏิเสธเนื่องจากชื่อของตนเองไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดสุโขทัย 

 

เจ้าหน้าที่แจ้งให้นายมณฑลไปนำใบสุทธิหรือใบบริสุทธิซึ่งเป็นใบยืนยันการผ่านการถูกดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่มาที่อำเภอ แต่นายมณฑลยืนยันว่าชื่อของตนควรกลับเข้าสู่โดยอัตโนมัติเพราะตนรับโทษตามกฎหมายแล้ว ซึ่งจากรายงานข่าวปรากฏว่านายมณฑลได้เคยติดต่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยแล้ว แต่เนื่องจากคดีเกิดขึ้นท้องที่ สภ. บางซื่อกรุงเทพฯ นายมณฑลจึงต้องเดินทางไปดำเนินการเอง นายมณฑลจึงมุ่งหน้าออกจากอำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัยด้วยรถโยก เป็นระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรเพื่อเข้ามา คุยกับเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร 

 

ข่าวนี้กลายเป็นที่สนใจจากสื่อมวลชนมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจนสร้างความอึดอัดให้แก่เจ้าตัว มีการติดตามไปจนถึงที่นอนที่พักของนายมณฑลในระหว่างทาง ซึ่งก็สร้างความไม่พอใจให้แก่เจ้าตัวและเกิดเป็นปากเสียงระหว่างสองฝ่าย จากข่าวเรื่องทวงสิทธิของคนพิการกลายเป็นข่าวการโต้เถียงระหว่างผู้สื่อข่าวกับผู้ให้สัมภาษณ์แทน

 

9 ก.พ. รายงานข่าวเปิดเผยว่านายมณฑลได้พักอาศัยอยู่ที่วัดราชบรรทม อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยยอมให้พระครูชาครทำโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชบัณฑิตพาไปส่งที่กรุงเทพ โดยพระครู เจ้าอาวาสวัดได้กล่าวว่านายมณฑลได้รับการอบรมสั่งสอนจนมีข้อคิด มีสติ และตั้งใจจะแสดงออก ความคิดเห็น ที่กรมบัญชีกลางกรุงเทพฯ โดยลูกศิษย์ของทางวัดได้ช่วยเหลือนำรถรถตู้มารับพานายมณฑลไปส่งที่กรมบัญชีกลางกรุงเทพมหานครส่วนลดสามล้อโยกวีลแชร์ทางวัดได้นำใส่รถกระบะติดตามไป โดยนายมณฑลแต่งกายแบบนุ่งขาวห่มขาว 

 

ช่วงบ่ายวันเดียวกันนายมณฑลได้เดินทางถึงกรุงเทพมหานครโดยรถตู้ของวัด และได้เข้าพบกับนางสาวศรีนวล อุบลวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มนโยบายงานสวัสดิการกองบริหารการรับจ่ายเงินภาครัฐ กรมบัญชีกลาง เพื่อสอบถามสิ่งที่สงสัยก็คือ ทำไมชื่อตัวเองจึงหายไปจากระบบทะเบียนราษฎร์

 

นางศรีนวลตอบว่า ข้อมูลของทะเบียนบ้านเป็นความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยหน้าที่ของกรมบัญชีกลางไม่มีส่วนในเรื่องของรายละเอียด เนื่องจากกรมบัญชีกลางมีหน้าที่ในการจ่ายเงินสวัสดิการต่างๆ ให้กับประชาชนเท่านั้น จุดนี้จึงต้องกลับไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อำเภอ หรือหน่วยงานส่วนท้องถิ่น แต่จากการประสานงานเบื้องต้นขอทราบว่าขณะนี้นายมณฑลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว สามารถดำเนินการขอรับเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมเป็นต้นไป

 

รายงานข่าวระบุว่าหลังจากฟังการชี้แจงแล้วนายมณฑลรู้สึกพอใจ และบอกว่าจะไม่เดินทางไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อถามเหตุชื่อหายจากทะเบียนบ้าน พร้อมขอโทษทุกๆคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอโทษเรื่องพฤติกรรมไม่เหมาะสมและเตรียมเดินทางกลับสุโขทัยแล้ว หลังจากนี้หากจะมีสื่อติดตามก็ยินดี เพราะตนจะกลับไปนุ่งขาวห่มขาวเข้าวัด ถือศีลสงบจิตใจ

 

10 ก.พ. มีรายงานข่าวว่านายมณฑลได้เดินทางมาถึงบ้านพ่อแม่ที่อำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัยเรียบร้อยแล้วโดยนายอำเภอได้มอบหมายให้นายปลัดอำเภอกำนันและผู้ใหญ่บ้านมาดูแลความเรียบร้อย โดยจะให้พักผ่อนร่างกายและพูดคุยปรับความเข้าใจกับคนในครอบครัวให้สบายใจก่อนเนื่องจากไม่ได้เจอกันมาหลายปี

 

นอกจากนี้นายอำเภอยังได้มอบหมายให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านคอยอำนวยความสะดวกในการพานายมณฑลไปจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ว่าการอำเภอและการดำเนินเรื่องการย้ายที่อยู่จากตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง กลับเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของบิดามารดา รวมถึงให้กำนัน อำนวยความสะดวกพาไปเปิดบัญชีธนาคาร ก่อนไปลงทะเบียนขอรับเบี้ยความพิการ โดยมีการประสาน อบต. แม่สำ จัดเตรียมเอกสารลงทะเบียนสำหรับรับเบี้ยความพิการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางมาที่ อบต.

 

ส่วนแผนการช่วยเหลือระยะยาวมีการประชุมร่วมกับผู้นำท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือในเรื่องของการส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ให้แก่นายมณฑล เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองอย่างยั่งยืนรวมถึงแผนงานด้านสุขภาพในพื้นที่โดยประสานกับ รพสต.และอาสาสมัครคอยให้กำลังใจรับฟังปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับพฤติกรรมนายมณฑลให้อยู่กับครอบครัวใช้การสื่อสารที่ดี ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงประสานช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วน

 

ความเคลื่อนไหวในส่วนอื่น

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ติงสือระวังละเมิดสิทรายงานข่าวคนพิการ

หลังเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างนายมณฑลกับผู้สื่อข่าวก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฎิบัติงานที่เกิดขึ้น การรายงานข่าวในช่วงจังหวะที่แหล่งข่าวไม่พร้อมให้สัมภาษณ์ จนกลายเป็นการกระทบกระทั่ง หลังจากนั้นมีการเคลื่อนไหวของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในเวลาต่อมา

 

นายชำนาญ ไชยสอน อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพ และการปฏิรูปสื่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ระบุว่าตนได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวดังกล่าวการตรวจสอบเบื้องต้นจากกรณีสื่อมวลชนหลายสำนักขอติดรายงานข่าวชายพิการโดนตัดสิทธิเบี้ยคนพิการโยกสามล้อจากสุโขทัยเข้ามากรุงเทพ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของแหล่งข่าวที่ยืนยันขอพื้นที่ส่วนตัวเพราะไม่ต้องการเป็นข่าว

 

โดยเบื้องต้นพบว่าการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนมีความสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจริยธรรมของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติที่ระบุว่าสื่อพึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเว้นแต่เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยเฉพาะการรายงานข่าวและภาพของผู้พิการในเชิงไม่สร้างสรรค์โดยไม่มีเหตุอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

 

”ตามหลักเสรีภาพและการรายงานข่าวนั้นแม้สื่อมวลชนสามารถกระทำได้อย่างเสรีภายใต้ขอบเขตของกฎหมายแต่สื่อมวลชนต้องเสนอข่าวโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่ตกเป็นข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อเด็กเยาวชนกลุ่มเปราะบางและผู้มีความหลากหลายด้านด้านอัตลักษณ์ในสังคมรวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่บุคคลของครอบครัวผู้ตกเป็นข่าว ตนจึงขอให้สื่อมวลชนยึดหลักในการทำหน้าที่ถึงสิทธิความรับผิดชอบของสังคมสังคมและพึงหลีกเลี่ยงการใช้คำไม่สุภาพหรือเนื้อหาข่าวที่สื่อความหมายในเชิงเหยียดหยามหรือ แสดงในเชิงลบต่อการนำเสนอข่าว“

 

รัฐมนตรีตอบคำถามเรื่องสิทธิคนพิการ และเรื่องบัตรประจำตัวคนพิการ

หลังเป็นข่าวเรื่องนายมณฑล รัฐมนตรีสั่งติดตามกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการบัตรประจำตัวประชาชนใบเดียวไม่ต้องมีบัตรคนพิการ

 

6 ก.พ. นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือคนพิการที่เดินทางมายังกรุงเทพเพื่อขอใช้สิทธิว่า ปัจจุบันตนกำลังเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปประสานงานเพื่อช่วยเหลือแก่คนพิการรายนี้ รวมถึงตอบคำถามหลายประเด็น เช่น ในกรณีชายคนพิการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องยาเสพติดจนอาจทำให้ไม่สามารถได้สิทธิคนพิการนั้นนายวราวุธระบุว่า ในทุกกรณีสิทธิของคนพิการยังอยู่แม้แต่ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำก็ยังสามารถรับสิทธิคนพิการได้ หากอยู่ในเรือนจำให้ไปแจ้งสิทธิคนพิการกับผู้คุมหรือผู้อำนวยการ ย้ำว่าสิทธิคนพิการไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ได้รับการคุมขังหรือรับโทษ

 

ส่วนเรื่องของการต่อ อายุบัตรคนพิการที่ต้องต่อทุกแปดปี ซึ่งสร้างความไม่สะดวกให้กับคนพิการหลายคนนั้น รัฐมนตรีระบุว่าหากบัตรคนพิการหมดหมดอายุแล้วและไม่สามารถเดินทางมาต่อได้ด้วยตัวเองก็ยังสามารถบอกอำนาจให้ผู้ดูแลมาทำแทนได้โดยสาเหตุที่บัตรคนพิการต้องมีการต่ออายุนั้นเนื่องจากความพิการมีหลายแบบ หากเป็นความพิการแบบถาวรก็ควรจะให้ทำบัตรคนพิการตลอดชีพ แต่หาก เป็นการพิการทางการเรียนรู้หรือจิตใจซึ่งสามารถเยียวยาหรือบำบัดได้ในช่วงห้าถึงเจ็ดปีนั้นเมื่อผ่านเวลาดังกล่าวไปก็สามารถออกจากสถานะดังกล่าวได้

 

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบัตรประชาชนและบัตรคนพิการไม่สามารถรวมไว้ในบัตรเดียวกันได้เรื่องนี้ตนได้มีการพูดคุยกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีแนวคิดคล้ายกันว่าควรผนวกบัตรประชาชนและบัตรคนพิการให้รวมเป็นใบเดียวกัน เพราะบัตรประชาชนที่ใช้กันอยู่มีชิบการ์ดที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย ตนจึงขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมายให้กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและกรมการปกครองหาแนวทางในการทำร่วมกันแล้ว

 

อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้แก้ไขระบบทะเบียนบ้านกลาง

20 ก.พ. นายสุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ เรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขระบบทะเบียนบ้านกลางให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิ์ในฐานะคนไทยได้โดยไม่ถูกตัดสิทธิเพื่อไม่ให้มีปัญหาดัง ดังเช่น กรณีคนพิการถูกตัดเบี้ย

 

นายสุรพงษ์กล่าวว่าคนที่อาศัยอยู่ในประเทศประเทศไทยจะได้รับเอกสารรับรองว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายคือบัตรประจำตัวประชาชนและมีทะเบียนบ้านเพื่อยืนยันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบตัวตนและภูมิลำเนา แต่บางคนไม่ได้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านจริงด้วยสาเหตุต่างกันเช่นไม่ได้อาศัยอยู่จริงในบ้านหลังนั้นแล้วและไม่ทราบที่อยู่ใหม่สำนักทะเบียนบ้านจึงนำรายการบุคคลนั้นไว้ในทะเบียนบ้านกลาง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นทะเบียนบ้านทำให้ถูกมองว่าไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของสำนักทะเบียนผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนกลางจึงมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิต่างๆที่ควรจะได้ในทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็น การขอทำบัตรประจำตัวประชาชน การยื่นคำร้องขอคัดสำเนาให้นายทะเบียนรับรับรองสำเนารายการเพื่ออ้างอิงในการใช้สิทธิต่างๆจนไปถึงสิทธิในการเลือกตั้งซึ่งถือว่าเป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทยทุกคน

 

ปัจจุบันมีคนไทยที่มีชื่อและรายการในทะเบียนบ้านกลางถึง 210,239 คนซึ่งคนเหล่านี้ถูกจำกัดสิทธิไม่สามารถใช้สิทธิได้ในหลายด้าน หากต้องการใช้สิทธิก็ต้องพิสูจน์และย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปอยู่ทะเบียนบ้านปกติตามที่อาศัยอยู่จริง คนเหล่านี้จำนวนมากไม่สามารถมีทะเบียนบ้านจริงๆให้ย้ายไปอยู่ได้ เช่นคนเร่ร่อน คนไร้บ้าน หรือมีบ้านแต่ไม่ได้รับการรับรองทะเบียนบ้านให้เนื่องจากสภาพไม่ถือว่าเป็นบ้านหรือ อาศัยในพื้นที่ผิดกฎหมาย

 

แม้จะมีการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างที่สาธารณะหรือบุกรุกป่าสงวนโดยทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้เหมือนทะเบียนบ้านและผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

 

เมื่อมีคำว่าชั่วคราวก็ทำให้หลายหน่วยงานไม่ยอมรับและไม่ให้สิทธิเท่าทะเบียนบ้านปกติ เช่น การขอใช้ไฟฟ้า ทางเจ้าหน้าที่จะเก็บในอัตราบ้านชั่วคราวที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งมีอัตราสูงกว่าบ้านปกติที่อยู่อาศัย

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 27 บัญญัติไว้ว่าบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมทั้งการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นการกำหนดให้มีทะเบียนบ้านกลางและทะเบียนบ้านชั่วคราวจึงไปจำกัดสิทธิหรือใช้สิทธิของประชาชนทำให้คนไทยไม่สามารถใช้สิทธิอย่างเท่าเทียมกับผู้ อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านปกติจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  

 

กระทรวงมหาดไทยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตามพรบการทะเบียนราษฎรจำเป็นต้องปรับแก้ไขกฎหมายและวิธีปฏิบัติให้ผู้ที่อยู่ในระบบทะเบียนทุกชนิดต้องเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 29 วรรคสองได้บอกว่าในคดีอาญาให้ศาลนิฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความผิดและก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดมิได้

 

ดังนั้นการที่นายมณฑลคนพิการที่ถูกเพียงหมายจับซึ่งต้องได้รับการปฏิบัติอย่างผู้บริสุทธิ์แต่ถูกสำนักทะเบียนย้ายจากทะเบียนบ้านปกติไปอยู่ทะเบียนบ้านกลางทำให้นายมณฑลเสียสิทธิทั้งการต่อบัตรประจำตัวประชาชนบัตรคนพิการและเบี้ยยังชีพคนพิการ

 

นายสุรพงษ์เรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักทะเบียนยกเลิกการย้ายทะเบียนไปสู่ทะเบียนกลางเพราะเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและควรแก้ไขระบบทะเบียนราษฎรให้ไม่ตัดสิทธิหรือกระทบสิทธิต่างๆของคนไทยไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ใด ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการทำบัตรประชาชนใบเดียวดังที่ทำได้แล้วในสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้บัตรประชาชนก็สามารถเช็คสิทธิและเข้าถึงสิทธินี้ได้