Skip to main content
"...กองทุนคนพิการมีเงินไหลเข้าเป็นท่อขนาด 6 นิ้ว แต่เงินไหลออก 5 มิลลิเมตร มันก็โป่งพอขึ้นเหมือนอึ่งอ่าง และสุดท้ายท้องอาจจะแตกตายเสียก่อน"
ความลักลั่นของระบบกองทุนสุขภาพของเมืองไทย คือร่มใหญ่ที่นำมาสู่ปัญหาของความเหลื่อมล้ำ หากแต่นั่นไม่ใช่เหตุผลเดียวที่เป็นช่องโหว่ของบริการสุขภาพคนพิการ เพราะด้วยโครงสร้างและข้อบัญญัติ รวมไปถึงความหลากหลายของคนพิการเองก็นำมาสู่ข้อถกเถียงมากมาย
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้กระบวนการการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการยังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่คือ ‘กองทุนหลักประกันสุขภาพ’
ถ้ามองภาพรวมของระบบบริการสุขภาพไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทัศนคติเรื่องความพิการ เพราะต้องยอมรับว่าแต่ก่อนสังคมมองความพิการเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษา หากแต่ทุกวันนี้สังคมเริ่มเข้าใจและเริ่มปรับตัวเพื่อทำให้คนพิการสามารถเข้ารับบริการสุขภาพอย่างมาตรฐาน
สิ่งที่ถูกมองว่า 'ปกติ' หรือ 'ไม่ปกติ' นั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นเช่นนั้นแต่แรก แต่เป็นการกำหนดคุณค่าเอาเองของคนในแต่ละสังคม เรื่องเหล่านี้จึงเป็นได้ทั้งเครื่องมือทางการเมือง บางมุมก็กลายเป็นอุปสรรคทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนให้คนที่เคยถูกมองว่าเป็นคนนอกของสังคมอย่างคนพิการหรือมีปัญหาทางการเรียนถูกมองเป็นคนเหมือนปกติทั่วไปมากขึ้นได้
บ่อยครั้งที่คนไม่พิการมักเคอะเขิน เวลาต้องพูดหรือทำกิจกรรมร่วมกับคนพิการ หากเป็นการทำงานยิ่งแล้วใหญ่ ลองอ่านไกด์ไลน์ซึ่งจะช่วยให้คุณที่ (อาจ) มีเพื่อนร่วมงานพิการ ได้เข้าใจและสามารถทำตัวธรรมชาติได้อย่างไม่เคอะเขิน
สถิติในแคนาดาพบว่า มีเพียงร้อยละ 38 ของคนพิการทางสายตาที่มีงานทำ วิจัยชี้ คน 70% เลือกคนไม่พิการเข้าทำงานก่อน หากความสามารถเท่ากัน เพราะมองว่าการจ้างคนพิการนั้นเสียเปรียบ-ทำงานได้ไม่เต็มที่
เผยคนไม่พิการร้อยละ 34 หลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับคนพิการเพราะไม่เข้าใจ เว็บไซต์สโคปแนะให้ปฏิบัติตัวต่อคนพิการอย่าง ‘ปกติ’ โดยไม่ต้องยกให้สูงหรือสงสาร-เห็นใจ