Skip to main content
เราเคยเห็นคนพิการถูกนำแสนอในสื่อแบบไหนบ้าง? คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพน่าสงสารมักมาพร้อมกับคนพิการในสื่ออย่างอัตโนมัติ เพราะอะไรคนพิการในสื่อจึงต้องน่าสงสาร นอกจากเรื่องความน่าสงสารและประเด็นดราม่าแล้ว ชีวิตคนพิการมีมิติไหนให้นำเสนออีกบ้างหรือเปล่า 
จากสถิติแล้วมีคนพิการที่อยู่ในวัยทำงานเพียงไม่กี่เปอเซ็นต์ที่มีงานทำ แม้จะมีกฏหมายที่เข้ามาช่วย หรือมีการจ้างงานแบบใหม่ๆ ที่เอื้อให้คนพิการทำงานใกล้บ้าน แต่การไม่เข้าถึงสิ่งพื้นฐานแรกเริ่มอย่างการศึกษาก็ทำให้คนพิการขาดโอกาสการเข้าถึงอาชีพในอนาคตฟังประสบการณ์การทำงานของคนพิการว่า การทำงานเปลี่ยนชีวิต และสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตอิสระได้อย่างไร แล้วทำอย่างไรคำว่า คนพิการและอาชีพ จะสามารถรวมกันได้อย่างกลมกลืน
"เด็กแต่ละคนมีความสามารถและข้อจำกัดทางการเรียนรู้ต่างกันออกไป ความรู้ทางด้านวิชาการบางประเภทอาจไม่ตอบสนองต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กบางคน ทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่" ลัดดาวัลย์ ศานตินิรันดร ผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรญาณวิทยา จ.นครปฐมกล่าวบนเวทีเสวนาเรื่อง “ทิศทางการเรียนรวมในประเทศไทย”
คนพิการไม่ใช่คนที่ไม่มีพื้นที่ แต่พื้นที่ที่คนพิการได้มักจะเป็นคนละที่กับที่คนทั่วไปใช้ คือเป็นพื้นที่ที่ถูกจัดสรรออกจากผู้อื่นข้อบ่งชี้ที่จะนำไปสู่ความเป็น Inclusive Development ต้องมีด้วยกันสามประการ อย่างแรกคือการมีส่วนร่วมหรือ full and Deflective participation ช่วยกันคิด ทำและช่วยกันรับผล อย่างที่สองคือ การเข้าถึงทรัพยากร อย่างสุดท้ายคือการเสริมพลังหรือ Empower ช่วยกันพัฒนาและเสริมพลังกันอย่างเต็มที่แนวคิดประชาธิปไตยควรจะ Inclusive Democracy คือไม่ควรจะเป็นประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ แล้วแค่คำนึงถึงคนส่วนน้อย แต่ควรเป็นประชาธิปไตยของคนทุกคน Democracy for Allไม่ใช่การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแต่หนีบไปเฉยๆ ทุกคนควรพัฒนาไปด้วยกัน พร้อมกัน
ในวัยมัธยม จะมีเด็กสักกี่คนที่รู้ว่าตัวเองนั้นชอบอะไร และอยากทำอะไร แต่นั่นไม่ใช่ผ้าย บุญธิดา ชินวงษ์ บิวตี้บล็อกเกอร์สาวน้อยขี้เล่น วัย 18 ปี ที่ตอนนี้ใครๆ ก็ต้องรู้จักเธอแน่หากพูดว่า ‘ฝ้าย ใช้เท้าแต่งหน้า’ 
หลายคนอาจสงสัยว่าเวลาใช้รถไฟฟ้า ไม่รู้จะขึ้นตรงไหนลงตรงไหน
ทำไมเรื่องหลายครั้งเรื่องความพิการต้องเป็นเรื่องน่าเศร้า ทำไมเราต้องทำให้คำว่า "พิการ" เป็นเรื่องที่ เซนซิทีฟในมุมของผู้ที่ไม่พิการ นี่คือคำถามเริ่มต้น ก่อนจะเกิดเป็นงานในครั้งนี้
วันนี้ (22 ม.ค.61) เครือข่ายคนพิการเดินทางไปร่วมรับฟังศาลอ่านคำชี้ขาด หลังฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบีทีเอส กรณีจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ทันตามกำหนดเวลา 1 ปี ตามที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งเมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ใน 2 ประเด็นคือ
ในวาระครบรอบ 3 ปี ของการต่อสู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอส Thisble.me เลยชวนประชาชนผู้ใช้บีทีเอส มาคุยว่าพวกเขารู้สึกยังไงกับ BTS? ที่ผ่านมาเห็น BTS เป็นอย่างไร? และคาดหวังอนาคตกันอย่างไร?
ย้อนดู 26 ปีการต่อสู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอสจากวันแรกที่ทำสัญญาสัมปทาน จนปัจจุุบันที่การสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ก็ยังไม่เรียบร้อยดี แม้กลุ่มคนพิการจะยื่นฟ้องและชนะคดีต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 ที่กำหนดให้บีทีเอสต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่จนตอนนี้การก่อสร้างก็ยังคงดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และส่งผลให้เกิดการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่สร้างไม่ทันกำหนดเวลา เรื่องราวนี้เป็นมาอย่างไร  ThisAble.me รวมไว้ให้อ่านที่นี่แล้ว