Skip to main content
เปิดตัวอิโมจิใหม่เวอร์ชัน 12.0 ของปี 2019 โดยเว็บไซต์ Emojipedia โดยในเวอร์ชันใหม่นี้จะมีส่วนเพิ่มเติมอย่างสีใหม่ๆ ของสัญลักษณ์รูปเรขาคณิตต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม และหัวใจ, หน้ากากดำน้ำ, วัดฮินดูและฟลามิงโก นอกจากนี้ยังมีอิโมจิที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกและคนพิการที่ออกมาโดยแอปเปิลเมื่อ
ในวันนี้ 21 ม.ค. 2562 เป็นวันครบรอบ 4 ปี หลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้ บีทีเอสต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี (นับจาก 21 ม.ค. 2558) ThisAble.me  จึงอยากชวนคุณย้อนดูความเป็นมาเรื่องการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถไฟฟ้าบีทีเอสตั้งแต่กลุ่มคนพิการเริ่มลุกขึ้นต่อสู้ในปี 2534 ซึ่งนับเป็น 27 ปีที่ยาวนาน และเหน็ดเหนื่อยสำหรับเครือข่ายคนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้อง 
Scene  1 ดาบของเล่นภายนอก / ลานกิจกรรมของโรงเรียนเศรษฐเสถียร / กลางวันซอล ซอล... มี ซอล ลา โด... เร โด ลา... ซอล ซอล มี...  เสียงเพลงลอยกระทงจากการเขย่าอังกะลุงดังขึ้น พร้อมๆ กับเสียงเคาะกระดานเพื่อกำกับจังหวะ เด็กๆ ที่กำลังถือเครื่องดนตรีต่างจดจ้องไปที่ปลายของดาบไม้ของเล่นซึ่งเป็นตัวแทนของไม้บาตอง ต่างคนต่างรอให้คุณครูเคาะจนถึงตัวโน้ตของตัวเอง บางคนก็เหลือบมองคุณครูอีกคนที่กำลังปรบมืออยู่และพยายามเล่นให้ตรงจังหวะ   คุณครู“เก่งมาก คราวนี้ครูขอเพิ่มลูกหมด แต่ให้เพื่อนเป็นคนนำนะ”เมื่อคุณครูเขียนโน้ตชุดใหม่บนกระดานเสร็จ ก็ส่งสัญญาณไปยังนักเรียนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นคอนดักเตอร์ เด็กหญิงเดินออกมายืนด้านหน้า สูดหายใจเข้าลึกๆ กวาดตามองโน้ตชุดใหม่รอบหนึ่ง นับหนึ่ง สอง สาม ก่อนจะยกมือของเธอขึ้นมาเคลื่อนไหวเป็นสัญลักษณ์ของโน้ตดนตรี เพื่อนๆ ของเธอต่างจดจ้องไปที่มือที่กำลังเคลื่อนไหวนั้นอย่างมีสมาธิ รอจนถึงคิวของตัวเองก็เขย่าอังกะลุงตามสัญลักษณ์มือนั้นๆ แม้จังหวะจะเหลื่อมๆ หรือเร็วเกินไปบ้าง พวกเขาก็ประคับประคองกันไปได้จนจบเพลง   คุณครู“ลองอีกรอบนะ คราวนี้ให้เพื่อนลองเคาะจังหวะ ส่วนพวกเราก็ดูโน้ตตามไปนะ” คุณครูยื่นดาบของเล่นให้กับเด็กหญิง เธอรับมาด้วยความเคยชิน ก่อนจะลองเคาะเป็นจังหวะเบาๆ บนกระดานที่เต็มไปด้วยตัวโน้ตอันไม่คุ้นเคย ไม่นานนักเธอก็ส่งสัญญาณมือให้เพื่อนๆ รับรู้ว่าเธอกำลังจะเริ่มกำกับมันในไม่ช้านี้ สาม สอง หนึ่ง... เธอค่อยๆ เคาะไปตามจังหวะที่นับอยู่ในใจ อาจจะเร็วไป หรือช้าไปบ้าง แต่เพื่อนๆ ก็ตั้งใจเขย่าอังกะลุงที่จับแน่นอยู่ทั้งสองมือตามเธอไป ไม่นานนักก็มาถึงท่อนสุดท้ายที่จังหวะต้องเร่งขึ้น  เร มี ซอล... มี ซอล ลา... ซอล ลา โด... ลา โด เรโน้ตตัวสุดท้ายจบลงอย่างเฉียดฉิว นักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นมาดีใจอย่างแรงที่ตัวเองเล่นตามจังหวะได้สำเร็จ ลองสังเกตดูดีๆ หูของเขามีเครื่องช่วยฟังอยู่ เพื่อนๆ บางคนถึงกับถอนหายใจด้วยความโล่งอก บ้างก็หันไปหัวเราะและชี้เพื่อนที่ทำให้ตัวเองหลงจังหวะ สุดท้ายแล้วทุกคนก็หันไปยิ้มให้กัน และเริ่มสนทนาอย่างออกรสชาติด้วยภาษามือ  
หลังเรียนจบจากโรงเรียนโสตศึกษานครปฐม เพลง-จุฑาทิพย์ ศรีธำรงวัชร์ก็เข้าเรียนต่อในราชภัฏนครราชสีมาในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาร่วมกับเพื่อนๆ ที่หูดี และได้รับเสียงเชียร์ให้เข้าร่วมประกวดนางงาม ก่อนที่เธอจะตัดสินใจส่งใบสมัครและได้รับตำแหน่งในที่สุดเพลงเล่าว่า การใช้ชีวิตร่วมกับคนหูดีเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง ทั้งเรื่องการสื่อสารและวัฒนธรรมที่ต่างกัน และนี่เองเป็นจุดประสงค์ของการมาประกวดนางงามของเธอในครั้งนี้ ที่ต้องการให้สังคมตระหนักถึงความเท่าเทียม และเปิดรับคนที่มีความแตกต่างกันมากขึ้น
“สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว และสิ่งใดหมายจะเกิด มนุษย์ไม่มีทางเปลี่ยนสองสิ่งนี้ได้ ” คำโปรยบนหน้าปกนวนิยายเล่มสีแดงที่มีชื่อว่า ‘ใต้ฝุ่น’ ทำให้เราสะดุดใจเมื่อแรกเห็น นวนิยายอิงประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานที่สามารถคว้ารางวัล ARC Award เล่มแรกของประเทศไทย ภายใต้นามปากกา โกลาบ จัน ซึ่งเป็นนามปากกาที่สามของเพทาย จิรคงพิพัฒน์
เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัท กล่องดินสอ จำกัดจัดกิจกรรม "วิ่งด้วยกัน Run2gether" งานวิ่งที่ผูกรวมอาสาคนตาดีร่วมวิ่งกับคนพิการ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิ่งทั้งพิการและไม่พิการร่วมออกกำลังกายด้วยกัน เพื่อลดช่องว่างและเพิ่มความเท่าเทียมในการวิ่ง
เคยเห็นเพื่อนคนหนึ่งตั้งสเตตัสบนเฟซบุ๊กว่า‘ตื่นเช้าคือกำไรชีวิต’วันนี้เองเป็นวันที่เราตื่นเช้าเป็นพิเศษ ต่างจากวันหยุดเสาร์อาทิตย์อื่น แล้วอะไรกันล่ะที่จะเป็นกำไรชีวิตของเราในวันนี้
“ข้อจำกัดไม่ใช่ข้ออ้างในการล้มเลิกความฝัน เมื่อเราเชื่อในตัวเอง ก็จะสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดได้” เป็นความคิดที่เกิดเมื่อได้พูดคุยกับ องุ่น-สุดารัตน์ เทียรจักร์ หญิงสาวที่เคยฝันอยากจะดำน้ำ ในวันนี้องุ่นไม่เพียงแค่ฝัน แต่เธอเป็นทั้งนักเขียน นักดำน้ำ นักเดินทาง และกำลังจะกลายเป็นผู้สร้างแรงบ
หลายคนอาจสงสัยว่า ‘นั่งวีลแชร์แล้วเป็นพยาบาลได้ด้วยเหรอ? ’ แต่เธอคนนี้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าเธอทำได้ 
ในงาน Good Society Expo 2018 ที่จัดขึ้นในห้างสรรพสินค้าเซนทรัลเวิลด์ มีกิจกรรมมากมายให้เราได้เลือกทำ หนึ่งในนั้นมีพาวิลเลียนหนึ่งที่เราชาว ThisAble.me สนใจเป็นพิเศษนั่นก็คือพาวิลเลียนคนพิการ ที่มีทั้งการจำลองเป็นคนพิการ ทำอาหารแบบคนตาบอดหรือแม้กระทั่งคุยกับคนหูหนวก ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่เราคงจินตนาการไม่ออกหากไม่เคยได้ลงมือทำ