Skip to main content

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทักษะที่จำเป็นในการทำงานนั้นเปลี่ยนไปมาก การใช้ทักษะแห่งอนาคตเพื่อทำงานกลายเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการที่จะเรียนรู้และเข้าถึง เช่นเดียวกับคนพิการที่ทักษะเหล่านี้ก็กลายเป็นเครื่องมือที่ต้องการในโลกการทำงานไม่ต่างกันคนอื่นในสังคม อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมามีคนพิการจำนวนมากที่มีศักยภาพ แต่กลับมีโอกาสในการเข้าถึงทั้งในด้านการจ้างงานและการศึกษาไม่มากนัก จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีคนพิการในวัยทำงานกว่า 819,000 คน แต่มีคนพิการเพียง 33.18% เท่านั้นที่ได้รับโอกาสจ้างงานตามที่คุณเมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น จำกัด (VULCAN COALITION) ได้ร่วมสะท้อน

จากปัญหาดังกล่าวเอพี ไทยแลนด์ ผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กับอีกหนึ่งบทบาทกับการมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ‘คน’ ด้วยการสร้างทักษะแห่งอนาคต เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ จึงจับมือกับ 4 พันธมิตรจัดทำโครงการที่ชื่อว่า “เพราะฉันคือ…ฉัน #IamPower” เพื่อมอบทักษะแห่งอนาคต ต่อยอดโอกาสในการเข้าถึงทักษะใหม่ๆ ให้แก่ “บัณฑิตและเยาวชนคนพิการ” มั่นใจและเชื่อมั่นในศักยภาพตัวเอง พร้อมทลายทุกข้อจำกัดชีวิต เพื่อโอกาสที่มากกว่าในการเข้าถึงตลาดงานที่มีคุณภาพ

บริษัทฯ ต้องการต่อยอดโอกาสในการเข้าถึงทักษะใหม่ๆ ให้แก่ “ผู้พิการ” โครงการ “เพราะฉันคือ…ฉัน #IamPower” จึงนำร่องผ่าน 2 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1. กิจกรรม “AP-SEAC presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2022” งาน Conference ที่รวบรวมความรู้และ เทรนด์ที่น่าสนใจจากวิทยากรกว่า 100 คน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25-26 มิถุนายนนี้ ซึ่งปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีการดีไซน์ในทุกรายละเอียด เพื่อรองรับผู้พิการ ทั้งแบบออนกราวน์อีเวนต์และระบบออนไลน์ ซึ่งทางเอพี ไทยแลนด์ยินดีมอบ Angel ticket ที่เป็นโควตาบัตรพิเศษสำหรับรับฟังผ่านทางออนไลน์ฟรี!  แก่ผู้พิการที่เป็นแฟนเพจ ThisAble.me สนใจจะเข้าร่วมงานลงทะเบียนรับบัตรได้ที่ https://bit.ly/CTCforPWDs ภายในวันที่ 15 มิถุนายนนี้เท่านั้น พร้อมรับเสื้อยืด I AM POWER ส่งตรงถึงประตูบ้านทันที ดูรายละเอียดงาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2022 เพิ่มเติมได้ที่ www.creativetalkconference.com

และอีกหนึ่งกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ  “IW-Inclusive Workplace - เตรียมพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกการทำงาน” เพื่อเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตและเยาวชนคนพิการกว่า 21 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ รวมกว่า 100 คน ด้วยหลักสูตรพิเศษเสริมสร้างทักษะความรู้ก่อนเข้าสู่ตลาดงานจริง โดยเอพี ไทยแลนด์มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสังคม สนับสนุนให้ทุกคนมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ตามคำกล่าวของคุณวิทการจัทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน)



“เพราะฉันคือ…ฉัน #IamPower” เกิดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ 1. SEAC (ซีแอค) ผู้นำด้านการพัฒนาผู้บริหาร บุคลากรและองค์กร ที่มุ่งเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.VULCAN COALITION (วัลแคน โคอะลิชั่น) ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีภารกิจหลักในการสร้างงานและรายได้ที่แท้จริงให้กับคนพิการ 3.CREATIVE TALK (บริษัท ครีเอทีฟทอล์ค จำกัด) ผู้ริเริ่มจัดงาน CREATIVE TALK CONFERENCE ขึ้นในไทย 4.มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม การสนับสนุนให้คนพิการมีอาชีพและมุ่งลดช่องว่างของการจ้างงาน ภายใต้ความตั้งใจที่จะมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการ ที่นำมาสู่โอกาสที่มากกว่าในการเข้าถึงตลาดงานที่มีคุณภาพ

คุณนิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์ YourNextU by SEAC หนึ่งในบริษัทในเครือเอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า ประสบการณ์การเรียนรู้และหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะและวิธีคิดที่จำเป็น นั้นสอดคล้องกับการทำงานในโลกปัจจุบัน เช่น วิธีคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ทักษะเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (DISC) และทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นต้น เช่นเดียวกับกับที่คุณอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า หลักสูตรที่ซีแอคได้จัดเตรียมมานั้นสามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวคนพิการออกมาได้ ทำให้มั่นใจและกล้าที่จะทำตามความฝัน ซึ่งจะสร้างพลังบวกให้กับเหล่าเยาวชนคนพิการสามารถสร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้วยตัวเองได้

และเพราะประสบการณ์ต่างๆ ต้องถูกเล่าผ่านเจ้าของประเด็น เราจึงอยากชวนรู้จักคนพิการผ่านทักษะแห่งอนาคตที่พวกเขาต้องการ และกิจกรรมที่จะช่วยให้ความพิการไม่เป็นอุปสรรคในโลกของการทำงานจากคำบอกเล่าของพี่อ้อม-วิภาสิริ บุญชูช่วย ผู้จัดการโครงการจ้างงานกระแสหลัก (IW: Inclusive Workplace) มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม น้ำค้าง-ชลธิชา ดาศรี Team Lead IW Internship Program มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม และ อาม-ปิยะณัฐ ทองมูล เจ้าหน้าที่ให้บริการนักศึกษาพิการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล คนตาบอด และดิว-กรวิก มะรังสี ผู้ช่วยครู วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก คนหูหนวก 

พี่อ้อมระบุว่า มหาวิทยาลัยที่รับคนพิการเข้าไปเรียนจะมีศูนย์บริการนักศึกษาพิการ หรือ DSS - Disability Support Service เพื่อสนับสนุนให้น้องพิการเรียนในมหาวิทยาลัยได้อย่างสะดวก เช่น จัดหาล่ามภาษามือให้กับนักศึกษาที่พิการทางการได้ยินและเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าทำงานหลังเรียนจบ

น้ำค้าง คนพิการทางการมองเห็นเล่าว่า แม้โครงการ IW จะไม่เคยอบรมอาชีพ แต่มีการอบรมเชิงทักษะ เช่น การเป็น Moderator ผ่านโปรแกรม Zoom, การอบรมคอมพิวเตอร์ และการสัมภาษณ์งานที่จัดขึ้นเฉพาะสำหรับคนพิการ เธอจึงอยากรู้ว่า การอบรมนี้จะเหมือนหรือต่างกับการอบรมทั่วไปอย่างไร


น้ำค้าง-ชลธิชา ดาศรี

เช่นเดียวกับอามที่พิการทางการมองเห็น เขาเล่าว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการอบรมการใช้โปรแกรม Office, เครื่องมือ Google เช่น Google meet และ Google drive มากขึ้น นอกจากนี้ก็มีการฝึกซ้อมสัมภาษณ์งาน การปรับบุคลิกภาพ และเรียนรู้ Hard Skill บางตัวที่คนตาบอดไม่สามารถเรียนรู้กับคนตาดีได้ เช่น คอมพิวเตอร์พื้นฐาน บางเรื่องก็จะมีอบรมร่วมกันกับความพิการอื่นได้ เช่น ทักษะการพูดจูงใจให้คนสนใจ เนื่องจากการอบรมนั้นมีหลายหัวข้อ และผู้เรียนสามารถเข้าร่วมได้ตามความสนใจ เขาจึงเลือกที่จะอบรมจากความสนใจ และสิ่งที่จะได้รับกลับมาหลังอบรม

“บางครั้งเราอยากจะพัฒนาตัวเอง แต่สถานที่ที่อบรมสำหรับคนพิการก็ไม่มี ก็ต้องไปอบรมกับคนไม่พิการโดยนั่งฟังเฉยๆ อาจปฏิบัติได้นิดหน่อย ถ้าการอบรมมีทั้งความรู้และได้ของติดไม้ติดมือมาด้วยก็คิดว่าน่าสนใจ” อามเล่า

สำหรับดิว คนพิการทางการได้ยินที่ต้องการเพิ่มทักษะและต่อยอดในตำแหน่งผู้ช่วยครู เล่าว่า เคยเข้าร่วมการอบรมของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการทำงาน ทั้งเรื่องการเขียนแผน ICP การรู้จักตัวเองและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการออกแบบ การถ่ายภาพและการตัดต่อวิดีโอ

เมื่อพูดถึงเรื่องการเข้าถึงสำหรับคนพิการแล้ว ดูเหมือนว่าจะต้องเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก คนพิการบางประเภทถูกจำกัดการเข้าถึงสิ่งต่างๆ ผ่านความไม่พร้อมของสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี ดังเช่นที่อามสะท้อนว่า โดยทั่วไปคนตาบอดรับรู้ข่าวสารจากการบอกต่อกันมา เช่น การพูดคุยกับเพื่อน หรือการส่งต่อในกลุ่มไลน์ หรือไม่ก็ต้องตั้งใจติดตามตามพื้นที่ที่ตัวเองสนใจ 


อาม-ปิยะณัฐ ทองมูล

“เราบังเอิญแอดเพจ AP ไว้ เลยรู้ว่า AP มีกิจกรรมอะไรบ้าง” อามเล่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาได้ร่วมกิจกรรม เช่นเดียวกับน้ำค้างที่เธอเองก็ตามข่าวสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือไลน์กลุ่มสมาคมคนตาบอด การติดตามในแอปพลิเคชันบางครั้งก็ช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อต้องอ่านข้อความประชาสัมพันธ์ในรูปโปสเตอร์ต่างๆ แตกต่างจากดิว ที่ส่วนใหญ่เขาติดตามผ่านครูและหน่วยงานต่างๆ เช่น โครงการ EDeaf

ในการเดินทาง น้ำค้างเตรียมตัวผ่านข้อมูลจากงานอบรม ทั้งสายรถสาธารณะ ความใกล้-ไกลรถไฟฟ้า เพราะคนพิการขึ้นรถสาธารณะฟรีและสะดวกกว่า แต่หากไม่ใกล้เธอก็เลือกที่จะเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชันคล้ายกันกับอามที่ตัวเขาเองก็มักเลือกการเดินทางด้วยรถสาธารณะ เขาต้องการรายละเอียดของสถานที่ที่จะไปและอาจต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้างในการบอกทางและนำทาง  แต่สำหรับดิวนั้นสามารถเดินทางไปกลับเองได้ ที่สำคัญคือการดูว่ากิจกรรมมีล่ามภาษามือหรือเปล่า หากไม่มีล่ามและเป็นกิจกรรมที่ใช้การฟังเยอะๆ ล่ามครูในวิทยาลัยก็จะตามไปด้วย

เมื่อผู้สัมภาษณ์คั่นคำถามด้วยการถามว่า อะไรคือความสุขในแต่ละวัน น้ำค้างก็สะท้อนว่า ความสุขของเธอคือความระทึกในการทำงานให้ทัน

“ไม่ได้ชอบทำงาน แต่ทำไม่เสร็จ (หัวเราะ) ฉะนั้นเวลาทำงานตาม to do list เสร็จก็จะมีความสุข แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ ยิ่งถ้าเสร็จแล้วได้กลับไปนอน ยิ่งรู้สึกว่านี่แหละคือความสุขที่สุดแล้ว” น้ำค้างแลกเปลี่ยน

สำหรับอามความสุขของเขาเกิดขึ้นผ่านสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวตั้งแต่บ้าน ที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน อากาศและอารมณ์ แตกต่างจากดิวที่เล่าว่า ความสุขของเขานั้นคือการฟังเพลง


ดิว-กรวิก มะรังสี

นอกจากคนตาบอดและหูหนวก น้ำค้างยังเล่าว่า ยังมีความพิการประเภทอื่นๆ ที่มีความต้องการต่างกัน จึงอยากให้คนในสังคมเข้าใจความแตกต่างนี้ อย่างที่เห็นชัดเจนเช่นตาบอด คือมองไม่เห็น ฉะนั้นสื่อที่เป็นรูปภาพ หรือกระดาษก็เข้าไม่ถึง แต่สามารถเข้าถึงโปรแกรมเสียงช่วยอ่าน เวลารับคนตาบอดเข้าทำงานก็ถามคนตาบอดว่าทำอะไรได้โดยไม่ตัดสิน ส่วนคนหูหนวกก็ต้องเน้นภาพสื่อสารหรือใช้ภาษาง่ายๆ ถ้าหูตึง ก็อาจต้องพูดใกล้ๆ หรือใช้โปรแกรม Voice to text เพื่อแปลงคำพูดเป็นตัวอักษร คนพิการร่างกาย เช่น นั่งวีลแชร์ก็จำเป็นต้องมีทางลาด มีลิฟต์ ห้องน้ำ เป็นพื้นที่ล้อเข็นง่าย เป็นต้น สำหรับบุคคลออทิสติกก็อาจจะมองว่ารับมือยาก เราต้องเข้าใจก่อนว่านี้คือภาวะและพยายามจับจังหวะให้ได้  ท้ายที่สุดคือคนพิการทางจิต ทั้งไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้วหรือจิตเภท น้ำค้างเล่าว่า คนกลุ่มนี้มีความไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออกและความคิดเห็น

อามสะท้อนต่อว่า อยากให้คนในสังคมมองว่า คนพิการเป็นคนคนหนึ่งที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เป็นเพื่อนที่ไม่ชอบการถูกเลือกปฏิบัติ หลายครั้งคนพิการถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยจนเกิดความอึดอัด จึงไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจเช่นนั้น เช่นเดียวกับดิว ที่พบเจอความไม่เข้าใจของคนในสังคมจึงอยากฝากว่า เวลาที่เจอคนพิการทางการได้ยิน ไม่จำเป็นต้องพยายามพูด แต่ควรใช้วิธีอื่น เช่น การเขียนหรือภาพเพื่อสื่อสารกับคนหูหนวกจะดีกว่า

สำหรับงาน “AP-SEAC presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2022” จะจัดขึ้นในวันที่ 25 - 26 มิถุนายนนี้ที่ไบเทค บางนา ในปีนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ล่ามภาษามือ ที่นั่ง เบรลล์บล็อค และโควตาบัตรพิเศษ Angel Ticket สำหรับบัณฑิตและเยาวชนคนพิการที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผ่านระบบออนไลน์ สนใจลงทะเบียนคลิ๊ก https://bit.ly/CTCforPWDs  ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มิถุนายน

 ////

ไม่ว่าบริบทของสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร

ความทะเยอทะยาน ความฝัน ความหวังของทุกคนจะกลายรูปไปแค่ไหน

เอพี ไทยแลนด์ พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อพลังบวกไปถึงทุกคน  

ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เติบโต และมองไปข้างหน้าอย่างไม่ท้อถอย

สร้างเส้นทางสู่เป้าหมายให้สำเร็จด้วยพลังในตัวของคุณเอง

“เพราะฉันคือ…ฉัน #IamPower”

 

เอพี ไทยแลนด์ ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้

#APThai #Empowerliving #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #IAMPOWER