Skip to main content

ชาเลย์ ไพเพอร์ กล่าวว่า เธอไม่เคยรู้สึกมั่นใจในตัวเองและภูมิใจกับสิ่งที่เธอเป็น ตอนเธอเป็นวัยรุ่นเธอมักเกลียดตัวเองที่เธอแตกต่าง ด้วยภาวะของโรคซีรีบรัล เพาร์ซีทำให้เธอต้องใช้วีลแชร์ตลอดชีวิต และนั่นเป็นสาเหตุให้เธอเกลียดโลกใบนี้และผู้คนรอบกาย


ภาพจาก Channel 4

เธอเติบโตมากับพี่น้องแฝด 4 คน ถึงแม้น้องชายของเธอจะเสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 10 เดือน ในโรงเรียนพี่น้องผู้หญิงของเธอทั้งสองคนมีเพื่อน และรวมถึงมีแฟน ซึ่งเธอมักจะต้องติดสอยห้อยตามไปกับพวกเขาเสมอๆ บางครั้งเธอรู้สึกไม่เป็นตัวเอง เมื่อต้องอยู่กับพี่น้องตลอดเวลา โดยเธอกล่าวว่า เธอเคยไปค้างบ้านเพื่อนเพียงไม่กี่ครั้ง และมีเพื่อน ‘ของตัวเอง’ เพียงไม่กี่คน

ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อชาเลย์อายุ 17 เธอย้ายไปอยู่ที่คอนเวนทรี ซึ่งห่างออกไป 3 ชั่วโมงจากที่อยู่อาศัยเดิมซึ่งเป็นบ้านพักของคนพิการที่เรียนศิลปะการแสดง

แม้ว่าเธอจะอายุเท่ากันกับญาติอีกสองคน ที่เธอกลับรู้สึกว่าตัวเองไร้เดียงสา และเป็นเด็กกว่าญาติๆ อย่างเห็นได้ชัด เช่น เรื่องการเข้าสังคม เวลาที่เธอต้องอยู่ร่วมกับคนที่ไม่พิการ แม้พวกเขาไม่ได้ทำให้เธอรู้สึกแปลกแยก แต่เธอกลับรู้สึกแปลกแยก

เธอใช้เวลาหลายปีเพื่อหาความ ‘ปกติ’ แต่เมื่อเธอเข้ามหาลัย เธอกลับเจอมันอย่างรวดเร็ว


ภาพจาก Charley Piper

ในปีแรก ห้องของเธอนั้นอยู่ในมหาวิทยาลัยเหมือนๆ กับนักศึกษาคนอื่นทั่วไป ในปีต่อมา เธอก็ได้ย้ายไปอยู่ในแฟลทที่มีห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำและห้องรับแขก ซึ่งนั่นทำให้เธอสร้างความมั่นใจในตัวเอง มีความเป็นอิสระ ตอนอยู่ที่นี่เธอสามารถโทรศัพท์หาเพื่อให้มาปาร์ตี้ที่ห้อง รวมไปถึงมีแฟน ยิ่งเธอมีแฟนและอกหักมากเท่าไหร่ ความมั่นใจในตัวเองไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่เธอได้รับกลับมาเท่านั้น

แต่เธอยังรู้ว่าเธอชอบผู้หญิงด้วย !

มีผู้หญิง 2-3 คน ที่เธอรู้สึกดีด้วยที่มหาวิทยาลัย แต่เธอมักคิดว่ามันน่าตลกสิ้นดีที่เธอชอบผู้หญิงหรือไม่ก็คิดว่ามันคงเป็นแค่เรื่องของความอิจฉาหรือชื่นชม เพราะการถูกแปะป้ายในเรื่องเพศสภาพนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก แม้คนรอบข้างไม่สนใจว่าเธอจะเป็นเพศอะไร แต่ตัวเธอเองนั่นแหละที่กลับรู้สึกไม่มีความมั่นใจ

ตลอดชีวิตของเธอ การยอมรับความ ‘พิการ’ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสมากพอแล้ว เธอจึงไม่อยากถูกตีตรา แปะป้ายว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้เพิ่มอีกเพราะรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้นั้นไม่ยุติธรรม

แต่เมื่ออยู่ไกลบ้าน ความคิดเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป เธอกล้าแสดงความเป็นตัวเอง กล้าเจอประสบการณ์ใหม่ๆ หรือมีปาร์ตี้แอลกอฮอร์สุดเหวี่ยง เหมือนที่วัยรุ่นคนอื่นทำกัน

2 ปีผ่านไปเธอคิดว่า ทักษะกการเข้าสังคมของเธอน่าจะเทียบเคียงได้กับญาติๆ ของเธอแล้ว แม้พวกเขาจะไม่ต้องอาศัยการไปอยู่ไกลบ้าน หรือมีปาร์ตี้สุดเหวี่ยงเพื่อได้มันมา การอยู่หอพักมหาวิทยาลัยให้อะไรเธอมากกว่าการไปไกลบ้าน แต่เธอได้เรียนรู้การเติบโต และยอมรับกับความเป็นตัวตนใหม่ คือ ความพิการ ไบเซ็กชวลและความภาคภูมิใจ

พี่สาวของเธอ จอร์เจียเป็นผู้หญิงทั่วไป และแฟรงค์กี้ พี่สาวอีกคนซึ่งเป็นเกย์ ซึ่งแสดงออกว่าเป็นไบเซ็กชวลเมื่ออายุ 15 ปี เวลาเดียวกับที่เธอเริ่มตั้งคำถามต่อความเป็นเพศสภาพของตัวเอง ในตอนนั้นเธอไม่อยากที่จะเลียนแบบพี่สาวเธอ จึงเก็บเรื่องนี้อย่างเงียบเชียบ และค่อยๆ บอกกับครอบครัวในอีก 11 ปีถัดมา  ตอนเธออายุ 26

แฝดของเธอทั้งสองคนมีความสุขกับความสัมพันธ์และนั่นเป็นสิ่งที่สวยงามมาก แต่เมื่อเธอมองกลับมาที่ตัวเอง เธอก็พบว่า เรื่องของเธอนั้นช่างน่าผิดหวังเสียเหลือเกินเมื่อเทียบเคียงกับคนในสังคมส่วนมาก

เธอเป็นโสดอยู่ 4 ปีและคิดว่าจะต้องพยายามมากขึ้นเพื่อหาคู่เดทหรือคู่ชีวิตที่มองข้ามความพิการของเธอ จึงสมัครเข้าร่วมรายการทีวีนัดเดตในช่อง 4 เพราะคิดว่า ไม่มีอะไรที่เธอต้องเสียไปมากกว่านี้แล้ว

การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในที่โชว์ ทำให้เธอสร้างความมั่นใจในตัวเอง ไม่เฉพาะเรื่องความรักเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการยอมรับในเรื่องอื่นๆ ด้วย อีกทั้งตอนนี้เธอก็เปลี่ยนความสนใจไปในเรื่องของการบอกเล่าเรื่องราวความรัก หลังผ่านประสบการณ์ตามหารักมาอย่างยาวนาน  รวมทั้งบอกว่า เธอมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะรัก ไม่รัก, เป็นหรือไม่เป็นในเพศวิถีที่เธอต้องการได้


ภาพจาก Charley Piper

แปลและเรียบเรียงจาก http://www.bbc.com/news/disability-41186359