Skip to main content
ทำไมเรื่องหลายครั้งเรื่องความพิการต้องเป็นเรื่องน่าเศร้า ทำไมเราต้องทำให้คำว่า "พิการ" เป็นเรื่องที่ เซนซิทีฟในมุมของผู้ที่ไม่พิการ นี่คือคำถามเริ่มต้น ก่อนจะเกิดเป็นงานในครั้งนี้
วันนี้ (22 ม.ค.61) เครือข่ายคนพิการเดินทางไปร่วมรับฟังศาลอ่านคำชี้ขาด หลังฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบีทีเอส กรณีจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ทันตามกำหนดเวลา 1 ปี ตามที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งเมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ใน 2 ประเด็นคือ
ในวาระครบรอบ 3 ปี ของการต่อสู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอส Thisble.me เลยชวนประชาชนผู้ใช้บีทีเอส มาคุยว่าพวกเขารู้สึกยังไงกับ BTS? ที่ผ่านมาเห็น BTS เป็นอย่างไร? และคาดหวังอนาคตกันอย่างไร?
ย้อนดู 26 ปีการต่อสู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอสจากวันแรกที่ทำสัญญาสัมปทาน จนปัจจุุบันที่การสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ก็ยังไม่เรียบร้อยดี แม้กลุ่มคนพิการจะยื่นฟ้องและชนะคดีต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 ที่กำหนดให้บีทีเอสต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่จนตอนนี้การก่อสร้างก็ยังคงดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และส่งผลให้เกิดการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่สร้างไม่ทันกำหนดเวลา เรื่องราวนี้เป็นมาอย่างไร  ThisAble.me รวมไว้ให้อ่านที่นี่แล้ว
ในปัจจุบันเรามักพบเห็นผู้ที่มีความพิการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างเป็นปกติตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือรถโดยสารสาธารณะ ในบางสถานการณ์อาจมีถ้อยคำหรือการกระทำที่คนไม่พิการพูดหรือปฏิบัติแล้วไปกระทบจิตใจของพวกเขา นี่คือคำพูดที่ผู้พิการทางการเห็นเคยได้ยินและความรู้สึกต่อคำพูดนั้น ๆ
เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า ผู้สื่อข่าวรายงานจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยว่า ระหว่างการแถลง “ผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. และการตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบประจำปี” ที่มีธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมนั้น
ความพิการเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตของมนุษย์ การมีอวัยวะไม่ครบสมบูรณ์ทำให้หลายคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หลายกรณี รัฐซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของคนพิการนั้นจำเป็นต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตั้งแต่การฟื้นฟูไปจนถึงจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้ชีวิต
พก.เตรียมเปิดศูนย์บริการคนพิการกทม. 4 มุมเมือง ด้วยนโยบาย “ศูนย์บริการใกล้ตัว ใกล้ใจ สำหรับคนพิการ” ตามเป้าหมายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
สำหรับคนหูหนวก ดนตรีอาจไม่ใช่เพียงแค่เสียง อย่างน้อยก็สำหรับผู้หญิงหูหนวกชาวอเมริกันคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ราเชล คอล์บปัจจุบัน ราเชลเป็นนักวิชาการอยู่ที่โรกส์ และกำลังเรียนต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเอโมรี ในสาขาวิชาด้านวรรณคดีอเมริกัน หูหนวกและพิการศึกษา และชีวจริยธรรม
หลายครั้งในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตก็ต้องมีกันบ้างที่รู้สึกเบื่อ เหนื่อยหน่าย หรือหมดแรงในการทำสิ่งต่างๆ วันนี้ ThisAble.me จึงมีภาพยนตร์ที่หลายๆ คนบอกกันว่า ช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจ อุ่นวอร์มร่างกาย และสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมพร้อมกับการทำงานและใช้ชีวิตต่อไปอีกครั้งกับภาพยนตร์ 10 เรื่องที่มีตัวเอกเป็นคนพิการ