Skip to main content
ป่านนี้แล้วใครยังไม่รู้จะฝึกที่ไหนดี เชิญทางนี้เลยจ่ะพี่จ๋า มาฝึกงานกับ 
เราเคยเห็นคนพิการถูกนำแสนอในสื่อแบบไหนบ้าง? คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพน่าสงสารมักมาพร้อมกับคนพิการในสื่ออย่างอัตโนมัติ เพราะอะไรคนพิการในสื่อจึงต้องน่าสงสาร นอกจากเรื่องความน่าสงสารและประเด็นดราม่าแล้ว ชีวิตคนพิการมีมิติไหนให้นำเสนออีกบ้างหรือเปล่า 
‘วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ต่อเมื่อมีแรงมากระทำ หากปราศจากแรงวัตถุจะหยุดนิ่ง’ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 บอกไว้อย่างนั้น ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องใช้แรงทำสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แม้แต่ กิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ก็ยังต้องใช้แรงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับสิ่งของ ลุกจากเตียง เปิดประตู ฯลฯ แต่กฎข้อนี้ใช้ไม่ได้กับ นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า ไม่ต่างจากคนไม่พิการ ชีวิตของเธอมีมากกว่าการคิดถึงเรื่องสุขภาพหรือระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ เธอได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น และทำในสิ่งที่อยากทำ แม้ปราศจากแรงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต จนในที่สุดก็ค้นพบบางสิ่งที่ทำให้เธอและผู้ป่วยคนอื่นๆ สามารถไปได้ไกลกว่าที่พวกเขาคาดคิดไว้ และพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า คนพิการก็สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เช่นกัน
Thisable TALK งานทอล์คและเปิดตัวเว็บไซต์ Thisable.me ชีวิตคนพิการต้องเลือกได้ เล่าประสบการณ์ถูกสังคมยัดเยียดความพิการแบบไทยๆ โจทย์งานออกแบบต้องเริ่มจากอยู่ร่วมกันให้ได้ เปิดละครพัฒนาผู้พิการ ในยุคที่ความบันเทิง “เท” คนพิการไว้ข้างหลัง นักแสดงตาบอดชี้ ทางแก้มีหมด เหลือแต่เปิดใจคุยกัน ติดโทรโข่งให้ความพิการ ใช้ “โรคของเรา” สร้างความรู้ให้สังคม
เสวนา “บทบาทสื่อกับการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของคนพิการ” โดยเว็บไซต์ thisable.me ชี้สื่อต้องรณรงค์ให้คนพิการตระหนักถึงสิทธิการเลือกตั้ง รัฐควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ ร่วมกับสื่อเพิ่มช่องทางนำเสนอข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งที่หลากหลายคำนึงถึงกลุ่มคนพิการ